แนวคิดทางการตลาด
710

แนวคิดทางการตลาด

แนวความคิดด้านการตลาด (marketing concept)
แนวความคิดด้านการตลาด  (marketing  concept) หมายถึง  "การที่องค์การใช้ความพยายามทั้งสิ้นเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า  เพื่อมุ่งให้เกิดยอดขายและกำไรในที่สุด"
ในอดีต  แนวความคิดด้านการตลาดเป็นแบบเก่าที่เน้นเรื่องการผลิต ผู้ผลิตสินค้ามีน้อยราย  ความต้องการสินค้ามีมากกว่าสินค้าที่ผลิตออกมาหรืออุปสงค์ (demand)  มีมากกว่าอุปทาน  (supply) ต่อมาเมื่อมีการผลิตจำนวนมาก
(mass  production) ต้นทุนสินค้าต่ำลง  ตลาดก็ขยายตัวขึ้น ความเจริญทางเศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มมากขึ้น กิจการต่าง ๆ
เริ่มหันมาสนใจและเน้นการตลาดมากขึ้น  ทำให้แนวความคิดด้านการตลาดเปลี่ยนไปเป็นแนวความคิดด้านการตลาดมุ่งเน้นการตลาดเพื่อสังคม  (societal marketing concept)แนวความคิดด้านการตลาดที่ธุรกิจและองค์การได้ยึดถือและปฏิบัติกันมาซึ่งมีการใช้กันอยู่ทั้งในอดีตและปัจจุบัน  เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางการตลาด
ซึ่งต่อไปนี้จะอธิบายถึงแต่ละแนวความคิดโดยจัดเรียงลำดับจากแนวความคิดที่เกิดขึ้นก่อนหลัง

1. แนวความคิดด้านการผลิต  (production concept)
เป็นแนวความคิดที่เก่าแก่ที่สุดของฝ่ายขาย  โดยคิดว่าผู้บริโภคจะพอใจที่จะหาซื้อเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ตนชอบ หาซื้อง่าย
และต้นทุนต่ำเท่านั้น ดังนั้นงานด้านการตลาดก็คือ พยายามปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตให้ดีขึ้น
และจัดจำหน่ายอย่างทั่วถึงแนวความคิดด้านการผลิต มีลักษณะดังนี้
    1.  ผู้บริโภคมีความสนใจในสินค้า  และราคาของสินค้าที่เสนอขายที่เป็นธรรมและถูกเป็นพิเศษ
    2.  ผู้บริโภคไม่เห็นความสำคัญของราคาที่แตกต่างกัน  สำหรับผลิตภัณฑ์แต่ละระดับของบริษัทต่าง ๆ
    3.  พยายามลดต้นทุนให้ต่ำ  เพื่อดึงดูดและจูงใงผู้บริโภคในด้านราคา
    4.  รักษาคุณภาพและปรับปรุงการผลิตให้ดีขึ้นเรื่อย  ๆ รวมทั้งการจัดจำหน่ายอย่างมีประสิทธิภาพ

2. แนวความคิดด้านผลิตภัณฑ์  (product  concept)
เป็นการสมมติว่าผู้บริโภคจะสนใจในคุณภาพที่ดีที่สุดของผลิตภัณฑ์และราคาที่เหมาะสม  โดยกิจการใช้ความพยายามในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคุณภาพ  รูปแบบส่วนผสม หีบห่อ สี กลิ่น รสชาติ
ก็สามารถประสบผลสำเร็จในการขายสินค้าและมีผลกำไรได้แนวความคิดด้านผลิตภัณฑ์  มีลักษณะดังนี้
    1.  ผู้บริโภคให้ความสนใจในคุณภาพของผลิตภัณฑ์เป็นอันดับแรก
    2.  ผู้บริโภครู้คุณภาพและลักษณะที่แตกต่างกันของสินค้ายี่ห้อต่าง  ๆ ที่แข่งขันกันในตลาด
    3.  ผู้บริโภคเลือกสินค้ายี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่งจากสินค้าที่แข่งขันกัน โดยยึดหลักว่า ได้รับผลตอบแทนในด้านคุณภาพสูงสุดจากเงินที่จ่ายไป
    4.  งานขององค์การก็คือ  ความพยายามรักษาและปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ  เพื่อดึงดูดและจูงใจผู้บริโภค

3. แนวความคิดด้านการขาย  (selling  concept)
เป็นการศึกษาด้านการจัดการตลาด  โดยเน้นถึงความพยายามของผู้ขายมากกว่าผู้ซื้อ  ยึดหลักว่าผู้บริโภคโดยทั่วไปมักจะไม่ซื้อผลิตภัณฑ์ของบริษัท  ถ้าไม่ถูกกระตุ้นด้วยความพยายามทางการขายและการส่งเสริมการตลาดอย่างเพียงพอ
ตัวอย่างเช่น การขายบริการประกันภัย ประกันชีวิต การขายเอนไซโคพิเดีย  การขายผลผลิตทางการเกษตรล่วงหน้า ผู้บริโภคไม่คิดซื้อสินค้าหรือบริการเหล่านั้น  จนกว่าจะได้รับการกระตุ้นการขายจากพนักงานขายของบริษัทแนวความคิดด้านการขาย มีลักษณะดังนี้
    1.  ผู้บริโภคโดยทั่วไปจะไม่ซื้อสินค้าเต็มที่  ผู้ขายจึงสามารถกระตุ้นให้ซื้อเพิ่มขึ้นได้เรื่อยๆ
    2.  ผู้บริโภคจะถูกชักจูงให้ซื้อสินค้าโดยผ่านเครื่องมือกระตุ้นการขายวิธีต่าง  ๆ เช่น การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การใช้พนักงานขายที่มีความสามารถ  ตลอดจนการจัดรายการส่งเสริมการขาย ลด แลก แจก แถม ชิงโชค เป็นต้น
    3.  งานหลักของบริษัท  คือ  การจัดให้มีแผนกขายที่มีความสามารถดีเด่นเพื่อดึงดูดและชักจูงผู้บริโภค
    4.  ผู้บริโภคอาจซื้อซ้ำอีก  เพราะมีความต้องการอยู่เรื่อย ๆ หรือถ้าไม่ซื้อซ้ำอีก  ก็ยังมีผู้บริโภครายอื่นที่ต้องการซื้อสินค้า

4. แนวความคิดด้านการตลาด  (marketing concept)
เป็นการศึกษาจัดการ โดยยึดหลักว่า งานขององค์การ คือ  การพิจารณาความจำเป็นและความต้องการของบริษัทเป้าหมาย  และการปรับปรุงการจัดการให้สามารถสนองความพอใจของผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และประสิทธิผลที่เหนือคู่แข่งขันอื่น  หรืออาจกล่าวได้ว่าแนวความคิดด้านการตลาดหมายถึง  การค้นหาและการสนองความต้องการของผู้บริโภค

    แนวความคิดด้านการตลาด  มีลักษณะดังนี้
    1.  องค์การที่ตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ให้ความพึงพอใจแก่กลุ่มลูกค้าที่ตั้งใจไว้
    2.  องค์การจะต้องศึกษาความต้องการของผู้บริโภค เพื่อสร้างความพึงพอใจให้ได้
    3.  องค์การต้องตะหนักถึงผู้บริโภคทุกคน  ที่จะมีผลกระทบต่อการดำเนินงาน
    4.  องค์การเชื่อว่า  การทำงานที่จะทำให่เกิดความพอใจแก่ผุ้บริโภจจะเป้นสาเหตุให้ได้มาซึ่งชัยชนะ
ด้วยความซื่อสัตย์ของบริษัท จะทำธุรกิจดำเนินต่อไปได้ และเป็นที่นิยมในระยะยาว  อันเป็นเป้าหมายขององค์การ

5. แนวความคิดด้านการตลาดเพื่อสังคม  (social  marketing concept)
เป็นการศึกษาเรื่องความต้องการและการสร้างความพึงพอใจให้กับผุ้บริโภค  โดยคำนึงถึงสวัสดิภาพของสังคมส่วนรวม
โดยหวังผลการตอบสนองเป็นเป้าหมายขององค์การที่ต้องการในระยะยาวเพื่อให้องค์การบรรลุเปาหมาย
กิจการต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อปัญหาต่าง ๆ  ของสังคมที่เกิดขึ้นอันเนื่องจาการดำเนินงานทางธุรกิจ ได้แก่
ความเสื่อมโทรมของสภาพสิ่งแวดล้อม  การเกิดภาวะเงินเฟ้ออันเนื่องมาจากราคาสินค้าเพิ่มขึ้น การขาดแคลนทรัพยากรบางประเภท  ปัญหาที่เกิดขึ้นองค์การควรจะมีความรับผิดชอบต่อสังคม และผู้บริโภคทางด้านต่าง ๆ
ได้แก่ ไม่ผลิตสินค้าที่ด้อยคุณภาพไม่ผลิตสินค้าที่เป็นพิษเป็นภัยต่อประชาชน  ไม่ค้ากำไรเกินควร ไม่โฆษณาชวนเชื่อมากเกินไป

    แนวความคิดด้านการตลาดเพื่อสังคม มีลักษณะดังนี้
    1.  มีลักษณะเหมือนแนวความคิดที่มุ่งการตลาด  คือ ต้องพิจารณาถึงความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
และพยายามสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้ผู้บริโภค
    2.  ให้ความสำคัญกับผลกระทบในทางที่ดีต่อสังคมส่วนรวม  และสภาพแวดล้อม ซึ่งมีผลไปถึงตัวผู้บริโภคด้วย

    ข้อแตกต่างระหว่างแนวความคิดด้านการขายและแนวความคิดด้านการตลาด
แนวความคิดด้านการขาย  (selling concept) หมายถึง  "การเสนอผลิตภัณฑ์ แล้วใช้วิธีการขายแบบต่าง ๆ เพื่อจูงใจให้ลูกค้าซื้อผลิตภัณฑ์"  แนวความคิดนี้  บริษัทเสนอผลิตภัณฑ์แล้วจึงหาทางจูงใจลูกค้าด้วยวีการขายให้เกิดความต้องการผลิตภัณฑ์  ส่วนแนวความคิดทางการตลาดนั้น  บริษัทจะต้องศึกษาความต้องการของลูกค้าก่อนแล้วจึงค้นหาผลิตภัณฑ์ที่สามารถสนองความต้องการของลูกค้าต่อไป 

http://vanida1401.weebly.com/3649360936233588362336343617358836363604360736343591358536343619358636343618358536333610364936093623358836233634361735883636360436073634359135853.html



INSURANCETHAI.NET
Line+