กฎหมายประกันวินาศภัย (Insurance Law)
728
กฎหมายประกันวินาศภัย (Insurance Law)
ศาสตราจารย์ไชยยศ เหมะรัชตะได้ให้ความหมายของประกันวินาศภัยไว้ว่า “สัญญาประกันวินาศภัยคือสัญญาซึ่งผู้รับประกันวินาศภัยตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันวินาศภัย ในเมื่อความเสียหายอย่างใดๆเกิดขึ้น ซึ่งรวมถึงความสูญเสียสิทธิ ผลประโยชน์หรือรายได้ ที่อาจจะประมาณความเสียหายหรือความสูญเสียเหล่านั้นเป็นเงินได้ ทั้งนี้โดยผู้เอาประกันวินาศภัยตกลงจะส่งเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้รับประกันภัยเป็นการตอบแทน”
ประกันวินาศภัยในแต่ละมาตรามีความแตกต่างกัน ดังนี้
Re: กฎหมายประกันวินาศภัย (Insurance Law)
728
Re: กฎหมายประกันวินาศภัย (Insurance Law)
มาตรา 869
อันคำว่า “วินาศภัย” ในหมวดนี้ ท่านหมายรวมเอาความเสียหายอย่างใด ๆ บรรดาซึ่งจะพึงประมาณเป็นเงินได้
ประมาณเป็นเงินได้นั้น หมายความว่า ความเสียหายนั้นต้องสามารถตีราคาเป็นเงินได้จริงๆ เช่น ถูกรถยนต์บาดเจ็บ ค่ายา ค่ารักษาพยาบาล ค่าขาดประโยชน์เพราะทำงานไม่ได้
ค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน ค่าขาดประโยชน์เพราะไม่สามารถใช้ทรัพย์สินนั้นได้เหล่านี้สามารถประมาณเป็นเงินได้ทั้งสิ้น
ความเจ็บปวด ความเสียอกเสียใจ เป็นเรื่องภายในจิตใจของแต่ละบุคคล ยากที่จะประมาณเป็นเงินได้ นั้นถ้าเป็นเรื่องความรู้สึกในจิตใจของแต่ละบุคคลซึ่งมีลักษณะเป็นนามธรรม ไม่อาจเอาประกันได้
ชีวิตของคนเราเป็นสิ่งที่มีค่ามากจนไม่สามารถตีราคาเป็นเงินได้อย่างถูกต้อง อวัยวะของเราก็เช่นกันไม่อาจกล่าวได้ว่าส่วนไหนราคาเท่าไร เว้นแต่จะหลุดออกจากร่างกายของเราโดยเด็ดขาดแล้วก็อาจถือเป็นทรัพย์ได้ ฉะนั้นชีวิตมนุษย์ รวมทั้งอวัยวะส่วนต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นมนุษย์ไม่อาจนำมาประกันวินาศภัยได้ แต่กฎหมายก็ได้กำหนดให้มีวิธีประกันอีกแบบหนึ่งคือประกันแบบกำหนดจำนวนเงินแน่นอน แต่ก็ไม่ใช่วินาศภัย เป็นการประกันอีกลักษณะหนึ่งซึ่งจะกล่าวต่อไปในเรื่องการประกันชีวิต
Re: กฎหมายประกันวินาศภัย (Insurance Law)
728
Re: กฎหมายประกันวินาศภัย (Insurance Law)
มาตรา 870
ถ้าได้ทำสัญญาประกันภัยเป็นสองรายหรือกว่านั้นพร้อมกันเพื่อความวินาศภัยอันเดียวกัน และจำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัยรวมกันทั้งหมดนั้นท่วมจำนวนที่วินาศจริงไซร้ ท่านว่าผู้รับประโยชน์ชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเพียงเสมอจำนวนวินาศจริงเท่านั้น ผู้รับประกันภัยแต่ละคนต้องใช้เงินจำนวนวินาศจริงแบ่งตามส่วนมากน้อยที่ตนได้รับประกันภัยไว้
อันสัญญาประกันภัยทั้งหลาย ถ้าลงวันเดียวกัน ท่านให้ถือว่าได้ทำพร้อมกัน
ถ้าได้ทำสัญญาประกันภัยเป็นสองรายหรือกว่านั้นสืบเนื่องเป็นลำดับกัน ท่านว่าผู้รับประกันภัยคนแรกจะต้องรับผิดเพื่อความวินาศภัยก่อน ถ้าและจำนวนเงินซึ่งผู้รับประกันภัยคนแรกได้ใช้นั้นยังไม่คุ้มจำนวนวินาศภัยไซร้ ผู้รับประกันภัยคนถัดไปก็ต้องรับผิดในส่วนที่ยังขาดอยู่นั้นต่อ ๆ กันไปจนกว่าจะคุ้มวินาศ
หลักสำคัญของประกันวินาศภัยประการหนึ่งมีว่า ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนเพียงเท่าที่ได้รับความเสียหายจริงเท่านั้น ใช้บังคับกับเรื่องประกันภัยหลายรายด้วยกฎหมายไม่ยอมเปิดโอกาสให้มีการค้ากำไรจากการประกันภัย ดังนั้นถึงแม้ผู้เอาประกันทำสัญญาประกันภัยหลายรายในทรัพย์สินอันเดียวกัน ก็ไม่มีทางได้รับค่าสินไหมทดแทนเดินกว่าความเสียหายที่เกิดขึ้น หากทำสัญญาประกันภัยหลายรายพร้อมกัน ผู้รับประกันก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามลำดับก่อนหลังที่รับประกัน แต่อย่างไรก็ตามค่าสิสไหมทดแทนที่ชดใช้นั้นรวมแล้วต้องไม่เกินความเสียหายที่แท้จริง
Re: กฎหมายประกันวินาศภัย (Insurance Law)
728
Re: กฎหมายประกันวินาศภัย (Insurance Law)
มาตรา 871
ถ้าได้ทำสัญญาประกันภัยเป็นสองรายหรือกว่านั้นพร้อมกันก็ดี หรือสืบเนื่องเป็นลำดับกันก็ดี ท่านว่าการที่ยอมสละสิทธิอันมีต่อผู้รับประกันภัยรายหนึ่งนั้น ไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิและหน้าที่ของผู้รับประกันภัยรายอื่น ๆ
การสละสิทธิอันมีต่อผู้ประกันภัยรายหนึ่ง ไม่ทำให้สิทธิหน้าที่ของผู้รับประกันภัยรายอื่นในอันที่จะต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเปลี่ยนแปลงไป ในกรณีที่มีการทำสัญญาประกันภัยหลายรา ซึ่งผู้เอาประกันภัยมีสิทธิที่จะเรียกให้ผู้รับประกันภัยทุกรายแบ่งกันชำระค่าสินไหมทดแทนตามส่วนแห่งเงินที่รับประกันภัยไว้ หรือให้ชำระก่อนหลังกันตามลำดับแห่งการทำสัญญา ถ้าผู้เอาประกันสละสิทธิที่ตนมีอยู่ต่อผู้รับประกันรายหนึ่งการสละสิทธิของผู้เอาประกันภัยย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิและหน้าที่ของผู้รับประกันภัยรายอื่นๆ
Re: กฎหมายประกันวินาศภัย (Insurance Law)
728
Re: กฎหมายประกันวินาศภัย (Insurance Law)
มาตรา 872
ก่อนเริ่มเสี่ยงภัย ผู้เอาประกันภัยจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้ แต่ผู้รับประกันภัยชอบที่จะได้เบี้ยประกันภัยกึ่งจำนวน
การเลิกสัญญาอาจทำได้โดยข้อสัญญา หรือโดยบัญญัติของกฎหมาย วิธีเลิกสัญญาทำได้โดยแสดงเจตนาไปยังคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง
การใช้สิทธิเลิกสัญญา หากกระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไม่
สำหรับมาตรานี้ให้สิทธิผู้เอาปะกันภัยโดยเฉพาะที่จะบอกเลิกสัญญาแต่ต้องเป็นกรณีเริ่มเสี่ยงภัย ขอให้สังเกตว่ามิใช่ก่อนเริ่มเกิดภัยซึ่งเป็นคนละเรื่องกัน
Re: กฎหมายประกันวินาศภัย (Insurance Law)
728
Re: กฎหมายประกันวินาศภัย (Insurance Law)
มาตรา 873
ถ้าในระหว่างอายุสัญญาประกันภัยนั้น มูลประกันภัยได้ลดน้อยถอยลงไปหนักไซร้ ท่านว่าผู้เอาประกันภัยชอบที่จะได้ลดจำนวนเงินเพื่อเอาประกันภัยไว้และลดจำนวนเงินเบี้ยประกันภัย
การลดจำนวนเบี้ยประกันภัยนั้น ให้เป็นผลต่อในอนาคต
คำว่าในระหว่างสัญญานั้นหมายความถึง ช่วงระยะเวลาที่ยังอยู่ภายในระยะเวลาที่สัญญารับประกันภัยนั้นยังมีผลใช้บังคับอยู่โดยในระหว่างสัญญาประกันภัยนั้น มูลประกันภัยได้ลดลงไปหนัก
คำว่ามูลประกันภัยนั้น หมายความถึงส่วนได้เสียที่อาจเอาประกันภัยได้
ส่วนคำว่า ลดถอยลงไปหนักนั้น หมายถึงมูลประกันภัยได้ลดลงไปเป็นจำนวนมาก หากมูลประกันภัยลดน้อยลงเพียงเล็กน้อยย่อมไม่เข้าตามมาตรานี้
ฉะนั้นตามมาตรานี้ โดยรวมสามารถอธิบายได้ว่า ในระหว่างระยะสัญญาประกันภัย หากสิ่งของที่เราได้ทำประกันภัยไว้มูลประกันภัยได้ลดลงไปเป็นอย่างมาก มาตรานี้ได้ให้สิทธิผู้เอาประกันภัยสามารถที่จะขอลดค่าสินไหมทดแทนที่เอาประกันภัยไว้ รวมถึงลดจำนวนเงินที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องส่งเบี้ยประกันภัยได้อีกด้วย อีกทั้ง ตามมาตรา 873 วรรค2 ยังกล่าวว่า การลดจำนวน เบี้ยประกันภัยนั้น ให้เป็นผล ต่อในอนาคต อันมีความหมายว่า เบี้ยประกันที่ผู้เอาประกันยังมิได้ส่งใช้ แต่หากเบี้ยประกันใดที่ได้ส่งใช้ไปแล้วย่อมไม่สามารถเรียกคืนเพื่อหักส่วนลดได้
Re: กฎหมายประกันวินาศภัย (Insurance Law)
728
Re: กฎหมายประกันวินาศภัย (Insurance Law)
มาตรา 874
ถ้าคู่สัญญาได้กำหนดราคาแห่งมูลประกันภัยไว้ ผู้รับประกันภัยชอบที่จะได้รับสินไหมทดแทนก็แต่เมื่อพิสูจน์ได้ว่าราคาแห่งมูลประกันภัยตามที่ได้ตกลงกันไว้นั้นเป็นจำนวนสูงคืนไปหนักและคืนจำนวนเบี้ยประกันภัยให้ตามส่วนกับดอกเบี้ยด้วย
คำว่ามูลประกันภัยนั้น หมายความถึงส่วนได้เสียต่อวัตถุที่เอาประกันที่อาจเอาประกันภัยได้ โดยมีการตีราคาเอาไว้ล่วงหน้า
ส่วนคำว่า ราคาแห่งมูลประกันภัยสูงเกินไปหนักนั้น หมายถึงมูลประกันภัยได้เพิ่มไปเป็นจำนวนมาก หากมูลประกันภัยเพิ่มเพียงเล็กน้อยย่อมไม่เข้าตามมาตรานี้
ฉะนั้นตามมาตรานี้ โดยรวมสามารถอธิบายได้ว่า หากมูลประกันภัยที่ได้ตกลงกันเอาไว้นั้น เพิ่มสูงเกินไปมาก เมื่อผู้รับประกันสามารถพิสูจน์ได้ว่ามูลประกันภัยเพิ่มสูงขึ้นไปมากเป็นความจริง ผู้รับประกันจึงมีสิทธิที่จะขอลดจำนวนค่าสินไหมทดแทน แต่ผู้รับประกันจะต้องลดค่าเบี้ยประกันภัยแก่ผู้เอาประกัน พร้อมทั้งให้ดอกเบี้ยแก่ผู้เอาประกันด้วย ส่วนเรื่องอัตราค่าดอกเบี้ยนั้น หากมิได้กำหนดไว้ล่วงหน้าให้บังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา7 กล่าวคืออัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
โดยมาตรา874 เป็นมาตราต่อเนื่องจากมาตรา 877(1)ที่กำหนดให้ผู้รับประกันจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามความเป็นจริง เมื่อผู้รับประกันภัยจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามความเป็นจริงแล้ว ผู้รับประกันภัยย่อมจะต้องคืนค่าเบี้ยประกันภัยให้ตามส่วน
Re: กฎหมายประกันวินาศภัย (Insurance Law)
728
Re: กฎหมายประกันวินาศภัย (Insurance Law)
มาตรา875
ถ้าวัตถุอันได้เอาประกันภัยไว้นั้น เปลี่ยนมือไปจากผู้เอาประกันภัยโดยพินัยกรรมก็ดี
หรือโดยบัญญัติกฎหมายก็ดี ท่านว่าสิทธิอันมีอยู่ในสัญญาประกันภัยก็ย่อมโอนตามไปด้วย
ถ้าในสัญญามิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นเมื่อผู้เอาประกันภัยโอนวัตถุที่เอาประกันภัยและบอกกล่าว
การโอนไปยังผู้รับประกันภัยไซร้ ท่านว่าสิทธิอันมีอยู่ในสัญญาประกันภัยนั้นย่อมโอนตามไปด้วย
อนึ่งถ้าในการโอนเช่นนี้ ช่องแห่งภัยเปลี่ยนแปลงไผหรือเพิ่มขึ้นหนักไซร้ ท่านว่าสัญญาประกันภัย
นั้นตกเป็นโมฆะ
ตามาตรา 875 วรรค1 วัตถุที่เอาประกันเปลี่ยนมือไปจากผู้เอาประกันโดยทางพินัยกรรม กล่าวคือผู้เอาประกันได้ทำพินัยกรรมยกวัตถุที่เอาประกันไว้ให้แก่อีกบุคคลหนึ่ง และเมื่อบุคคลที่เอาประกันไว้ถึงแก่ความตาย ทรัพย์หรือวัตถุนั้นย่อมโอนไปถึงบุคคลผู้รับพินัยกรรม ซึ่งสิทธิของผู้เอาประกันในวัตถุนั้นย่อมโอนไปยังผู้รับพินัยกรรมด้วย ส่วนวัตถุเปลี่ยนมือไปโดยทางบัญญัติกฎหมาย กล่าวคือผู้เอาประกันมิได้ทำพินัยกรรมไว้ ทรัพย์มรดกจึงตกไปแก่ทายาทโดยธรรมของผู้เอาประกันภัย สิทธิของผู้เอาประกันย่อมโอนไปยังผู้รับมรดกด้วยเช่นเดียวกัน โดยตามวรรค1นี้ สิทธิย่อมโอนไปทันทีโดยมิต้องมีการบอกกล่าวใดๆทั้งสิ้น
ตามวรรค2 นั้น หมายถึงผู้เอาประกันภัยได้โอนทรัพย์อันได้อันประกันภัยไว้นั้นแก่บุคคลผู้อื่น และได้บอกกล่าวแก่ผู้รับประกันแล้ว สิทธิของผู้เอาประกันจึงจะโอนไปยังบุคคลผู้ซึ่งผู้เอาประกันต้องการจะโอนสิทธิให้ หากผู้เอาประกันมิได้บอกกล่าวแก่ผู้รับประกัน การโอนนั้นย่อมไม่เป็นผล ผู้รับการโอนย่อมไม่ได้สิทธิในการรับประกันภัยนั้นๆ อีกทั้งหากการโอนนั้นเป็นเหตุให้ ภัยที่อาจเกิดขึ้นเปลี่ยนแปลงไปหรือมีเพิ่มมากขึ้น สัญญาประกันนั้นตกเป็นโมฆะ
Re: กฎหมายประกันวินาศภัย (Insurance Law)
728
Re: กฎหมายประกันวินาศภัย (Insurance Law)
มาตรา 876
ถ้าผู้รับประกันภัยต้องคำพิพากษาให้เป็นคนล้มละลาย ผู้เอาประกันภัยจะเรียกให้หาประกันอันสมควรให้แก่ตนก็ได้ หรือจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้
ถ้าผู้เอาประกันภัยต้องคำพิพากษาให้เป็นคนล้มละลาย ท่านให้ใช้วิธีเดียวกันนี้บังคับตามควรแก่เรื่อง แต่กระนั้นก็ดีถ้าเบี้ยประกันภัยได้ส่งแล้วเต็มจำนวนเพื่ออายุประกันเป็นระยะเวลามากน้อยเท่าใดไซร้ ท่านห้ามมิให้ผู้รับประกันภัยบอกเลิกสัญญาก่อนระยะเวลานั้นสุดลง
ถ้าผู้รับประกันภัยต้องคำพิพากษาให้เป็นคนล้มละลาย ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิอยู่ 2 ประการ คือ
1.เรียกให้ผู้เอาประกันภัยหาหลักประกันเพื่อค่าสินไหมทดแทนหากมีวินาศภัยเกิดขึ้น
2. บอกเลิกสัญญาประกันภัย
ถ้าผู้เอาประกันต้องคำพิพากษาให้เป็นคนล้มละลาย ให้ใช้วิธีเดียวกันกับผู้รับประกันภัยต้องคำพิพากษาให้เป็นคนล้มละลายมาใช้บังคับ แต่ถ้าผู้เอาประกันได้ส่งเบี้ยประกันเต็มจำนวนเพื่ออายุประกันภัยเป็นระยะเวลาเท่าใด ผู้รับประกันจะบอกเลิกสัญญาก่อนระยะเวลานั้นสิ้นสุดไม่ได้
Re: กฎหมายประกันวินาศภัย (Insurance Law)
728
Re: กฎหมายประกันวินาศภัย (Insurance Law)
มาตรา 877
ผู้รับประกันภัยจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ คือ
(๑) เพื่อจำนวนวินาศภัยอันแท้จริง
(๒) เพื่อความบุบสลายอันเกิดแก่ทรัพย์สินซึ่งได้เอาประกันภัยไว้เพราะได้จัดการตามสมควรเพื่อป้องปัดความวินาศภัย
(๓) เพื่อบรรดาค่าใช้จ่ายอันสมควรซึ่งได้เสียไปเพื่อรักษาทรัพย์สินซึ่งเอาประกันภัยไว้นั้นมิให้วินาศ
อันจำนวนวินาศจริงนั้น ท่านให้ตีราคา ณ สถานที่และในเวลาซึ่งเหตุวินาศภัยนั้นได้เกิดขึ้น อนึ่งจำนวนเงินซึ่งได้เอาประกันภัยไว้นั้น ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นหลักประมาณอันถูกต้องในการตีราคาเช่นว่านั้น
ท่านห้ามมิให้คิดค่าสินไหมทดแทนเกินไปกว่าจำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัยไว้
จำนวนค่าสินไหมทดแทนที่ผู้รับประกันภัยจะต้องใช้ให้แก่ผู้เอาประกันภัยมีอยู่ 3 ประการด้วยกันดังนี้
1. ค่าสินไหมทดแทนเพื่อจำนวนวินาศภัยอันแท้จริง สัญญาประกันภัยเป็นสัญญาที่มุ่งหมายจะให้ผู้เอาประกันภัยได้รับชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ตน กฎหมายไม่ประสงค์จะให้ผู้เอาประกันภัยค้ากำไรจากการทำสัญญาประกันภัย กล่าวคือ ผู้รับประกันภัยไม่มีหน้าที่จะต้องชดใช้ให้แก่ผู้เอาประกันภัยเกินกว่าจำนวนความเสียหายอันแท้จริงที่ผู้เอาประกันภัยได้รับจากวินาศภัยที่เกิดขึ้น
ถ้าจำนวนที่ประกันภัยไว้ต่ำกว่าความเสียหายที่แท้จริง ผู้รับประกันภัย ก็ไม่ต้องรับผิดเกินกว่าจำนวนที่เอาประกันภัยไว้ ทังนี้ เป็นไปตามมาตรา 877 วรรคสาม
การตีราคาจำนวนวินาศภัยอันแท้จริงต้องคำนวณ ณ สถานที่ และที่เกิดวินาศภัยตามมาตรา 877 วรรคสอง มิใช่ถือเอาราคาในขณะทำสัญญา
2. ผู้รับประกันภัยจะต้องชดใช้ความเสียหายหรือบุบสลายอันเกิดแก่ทรัพย์สินที่เอาประกันไว้อันเนื่องมาจากได้จัดการตามสมควรเพื่อปัดป้องวินาศภัยที่จะเกิดขึ้น เช่น รื้อหลังคาหรือฝาบ้านบางส่วน เพื่อสกัดกั้นการลุกไหม้ของไฟและจะทำให้ตัวบ้านรอดพ้นจากไฟไหม้ ถ้าได้จัดการแก่ทรัพย์โดยไม่ชอบไม่ควรแล้ว ผู้รับประกันก็ยังคงรับผิดเพียงจำนวนที่สมควรเท่านั้น ซึ่งต้องพิจารณาตามความคิดเห็นของวิญญูชนเป็นรายๆไป
3. ผู้รับประกันภัยจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่าใช้จ่ายอันสมควรซึ่งผู้เอาประกันได้เสียไปเพื่อรักษาทรัพย์สินที่เอาประกันภัยให้รอดพ้นจากวินาศภัยด้วย เช่น ในกรณีเอาประกันอัคคีภัยบ้านไว้ ต่อมามีไฟไหม้ใกล้ๆ ผู้เอาประกันภัยจึงได้วิ่งไปหยิบยืมเอาเครื่องดับเพลิงของบ้านข้างเคียงเท่าทีพอจะหาได้มาฉีดกันมิให้เพลิงไหม้มาถึงบ้าน ผู้รับประกันภัยมีหน้าที่ต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายที่ผู้เอาประกันต้องเสียไปในการนี้
Re: กฎหมายประกันวินาศภัย (Insurance Law)
728
Re: กฎหมายประกันวินาศภัย (Insurance Law)
มาตรา 878
ค่าใช้จ่ายในการตีราคาวินาศภัยนั้น ท่านว่าผู้รับประกันภัยต้องเป็นผู้ออกใช้
ในการตีราคาวินาศภัยหากมีค่าใช้จ่าย ผู้รับประกันภัยต้องเป็นผู้ออก
Re: กฎหมายประกันวินาศภัย (Insurance Law)
728
Re: กฎหมายประกันวินาศภัย (Insurance Law)
มาตรา 879
ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดในเมื่อความวินาศหรือเหตุอื่นซึ่งได้ระบุไว้ในสัญญานั้นได้เกิดขึ้นเพราะความทุจริต หรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์
ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดในความวินาศภัยอันเป็นผลโดยตรงมาแต่ความไม่สมประกอบในเนื้อแห่งวัตถุที่เอาประกันภัย เว้นแต่จะได้ตกลงกันเป็นอย่างอื่น
มาตรา879 วรรคหนึ่ง
ถ้าวินาศภัยเกิดเพราะความทุจริต หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัย หรือผู้รับประโยชน์ ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิด เพราะบุคคลย่อมไม่สามารถถือเอาประโยชน์จากความทุจริตของตน คำว่า “ทุจริต” ในมาตรา 879 หมายถึง การกระทำด้วยความมุ่งหมายที่จะก่อให้เกิดภัยขึ้นโดยตรง หรือโดยลักษณะที่เห็นได้ว่าภัยนั้นเป็นผลอันจำต้องเกิดจากการกระอันนั้นซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้รับประกันภัยจะต้องแสดงให้ประจักษ์เพื่อยกเว้นความรับผิดของตน
ความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หมายถึง การกระทำโดยขาดความระมัดระวังซึ่งหากได้ใช้ความระมัดระวังนั้นก็จะไม่เกิดขึ้น แต่หากเป็นการประมาทเลินเล่อธรรมดาไม่ถึงขนาดที่จะถือว่าเป็นการร้ายแรงย่อมไม่เป็นเหตุที่จะให้ผู้รับประกันภัยพ้นจากความรับผิด
มาตรา 879 วรรคสอง
“ความไม่สมประกอบในเนื้อแห่งวัตถุที่เอาประกันภัย” หมายถึง วินาศภัยที่เกิดจากตัวทรัพย์ที่เอาประกันภัย มิใช่เกิดจากปัจจัยภายนอกมาทำให้เกิดวินาศภัยกับทรัพย์ที่เอาประกันภัยนั้น
Re: กฎหมายประกันวินาศภัย (Insurance Law)
728
Re: กฎหมายประกันวินาศภัย (Insurance Law)
มาตรา 880
ถ้าความวินาศภัยนั้นได้เกิดขึ้นเพราะการกระทำของบุคคลภายนอกไซร้ ผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทนแทนไปเป็นจำนวนเพียงใด ผู้รับประกันภัย ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและของผู้รับประโยชน์ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกเพียงนั้น
ถ้าผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแต่เพียงบางส่วนไซร้ ท่านห้ามมิให้ผู้รับประกันภัยนั้นใช้สิทธิของตนให้เสื่อมเสียสิทธิของผู้เอาประกันภัย หรือผู้รับประโยชน์ ในการที่เข้าจะเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากบุคคลภายนอกเพื่อเศษแห่งจำนวนวินาศนั้น
การที่ผู้รับประกันภัยจะเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัย หรือผู้รับประโยชน์ได้ ต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 2 ประการ คือ
1.วินาศภัยเกิดจากการกระทำของบุคคลภายนอก คือ ผู้ทำให้เกิดวินาศภัย หรือบุคคลภายนอกเป็นฝ่ายผิด ดังนั้น ผู้รับประกันภัยไปเรียกร้องเอาจาดบุคคลภายนอกได้
2. ผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว คือ ผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยแล้ว หากผู้รับประกันภัยยังมิได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนก็ไม่อาจรับช่วงสิทธิได้
Re: กฎหมายประกันวินาศภัย (Insurance Law)
728
Re: กฎหมายประกันวินาศภัย (Insurance Law)
มาตรา 881
ถ้าความวินาศเกิดขึ้นเพราะภัยมีเกิดขึ้นดังผู้รับประกันภัยตกลงประกันภัยไว้ไซร้ เมื่อผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ทราบความวินาศนั้นแล้วต้องบอกกล่าวแก่ผู้รับประกันภัยโดยไม่ชักช้า
ถ้ามิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติที่กล่าวมาในวรรคก่อน ผู้รับประกันภัยอาจเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างใดๆ อันเกิดแต่การนั้นได้ เว้นแต่อีกฝ่ายหนึ่งจะพิสูจน์ได้ว่าไม่สามารถที่จะปฏิบัติได้
มาตรา881 วรรคหนึ่ง ผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่บอกกล่าววินาศภัยแก่ผู้รับประกันภัยทราบทันที หรือภายในเวลาอันสมควร หากบอกกล่าวล่าช้าย่อมทำให้ผู้รับประกันภัยเสียเปรียบ จึงต้องกำหนดให้ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นเนื่องจากการบอกกล่าววินาศภัยล่าช้า
มาตรา881 วรรคสอง หากไม่บอกล่าววินาศภัยภายเวลาที่กำหนด ผู้อาประกันภัย หรือผู้รับประโยชน์ยังมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับประกันภัยได้ หากตนได้รับความเสียหายจากการไม่บอกกล่าวความวินาศหรือบอกกล่าวชักช้า แต่หากผู้อาประกันภัย หรือผู้รับประโยชน์พิสูจน์ได้ว่า ตนไม่สามารถบอกกล่าวความวินาศโดยไม่ชักช้าได้
Re: กฎหมายประกันวินาศภัย (Insurance Law)
728
Re: กฎหมายประกันวินาศภัย (Insurance Law)
มาตรา 882
ในการเรียกให้ใช้ค่าสินไหมทดแทน ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดสองปีนับแต่วันวินาศภัย
ในการเรียกให้ใช้หรือให้คืนเบี้ยประกันภัย ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นเวลาสองปีนับแต่วันซึ่งสิทธิจะเรียกให้ใช้หรือคืนเบี้ยประกันภัยถึงกำหนด
มาตรา882 วรรคหนึ่ง ผู้เอาประกันภัย หรือผู้รับประโยชน์ประสงค์จะฟ้องเรียกให้ผู้รับประกันภัยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ตามสัญญาก็จะต้องฟ้องภายใน 2 ปี นับแต่วันที่เกิดวินาศภัย มิฉะนั้นจะขาดอายุความ
มาตรา882 วรรคสอง ถ้าผู้รับประกันภัยฟ้องเรียกให้ชำระเบี้ยประกันภัย หรือต้องมีการคืนเบี้ยประกันภัยก็ต้องฟ้องภายใน 2 ปี นับแต่วันซึ่งสิทธิเรียกให้ใช้หรือคืนเบี้ยประกันภัยถึงกำหนด
INSURANCETHAI.NET