จัดสรรสัดส่วนทางการเงินอย่างไร?
79

จัดสรรสัดส่วนทางการเงินอย่างไร?

จัดสรรสัดส่วนทางการเงินอย่างไร?

“เงิน” มีบทบาทสำคัญต่อการดำรงชีวิต เพราะเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน เป็นเครื่องวัดค่าสิ่งของต่างๆ อีกทั้งมีส่วนช่วยอำนวยความสะดวกในการจัดหาซื้อของใช้จำเป็นในชีวิตประจำวัน อีกด้วย คนส่วนใหญ่คิดว่าการหาเงินได้มากขึ้น จะสร้างความสุขสบายในชีวิตได้มากขึ้น แต่กลับกลายเป็นว่าเงินที่หาเพิ่มขึ้นมาได้ กลับไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทุกวันๆ เลย เหตุนี้อาจเป็นเพราะคนเราคุ้นเคยกับการใช้เงิน ก่อนที่จะหาเงินมาได้นั่นเอง

จะเริ่มต้นวางแผนการเงินอย่างไรดี?
     
1.    รวบรวมข้อมูลทางการเงิน
    เป็นจุดเริ่มต้นที่ช่วยให้เรามองเห็นภาพรวม สถานะภาพทางการเงินของตนเองได้อย่างชัดเจนและถูกต้อง โดยเริ่มจากรวบรวมข้อมุลและเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเงินของตนเองทั้งหมด แล้วแบ่งข้อมูลเป็น 4 ประเภท คือ
   

  1. รายได้ (Income) คือ ผลตอบแทนที่กิจการได้รับจากการขายสินค้าหรือบริการตามปกติของกิจการรวมทั้ง ผลตอบแทนอื่นๆ ที่ไม่ได้เกิดจากการดำเนินงานตามปกติ
  2. สินทรัพย์ (Asset) คือ สิ่งที่มีตัวตนหรือไม่มีตัวตนอันมีมูลค่า ซึ่งบุคคลหรือกิจการอันเป็นเจ้าของหรือสามารถถือเอกประโยชน์ได้จาก กรรมสิทธิ์ในสังหาริมทรัพย์ อสังหาริมทรัพย์ สิทธิ์เรียกร้อง มูลค่าที่ได้มา รายจ่ายที่ก่อให้เกิดสิทธิ์ และรายจ่ายของงวดบัญชีถัดไป
  3. ค่าใช้จ่าย (Expense) คือ ต้นทุนส่วนที่หักออกจากรายได้ในรอบระยะเวลาที่ดำเนินการงานหนึ่ง
  4. หนี้สิน (Liabillity) คือ พันธะผูกพันกิจการอันเกิดจากรายการค้า การกู้ยืม หรือจากคนอื่นซึ่งจะต้องชำระคืนในภายหน้าให้แก่บุคคลภายนอกตามสิทธิเรียก ร้องที่บุคคลภายนอกมีต่อกิจการด้วยสินทรัพย์หรือบริการ

2.    กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ทางการเงิน
    เป้าหมายทางการเงินที่ดี จะต้องกำหนดให้สอดคล้องกับ “เป้าหมายชีวิต (Personal Goal) “ ซึ่งแต่ละคนย่อมแตกต่างกันไป โดยคำนึงถึงจุดที่เราคิดว่าตนเองประสบความสำเร็จสูงสุด ซึ่งอาจวัดที่ความพึงพอใจ ความสุขสบายใจของแต่ละคน โดยส่วนใหญ่แล้วความมั่นคงทางการเงินมักจะมีส่วนในการสนับสนุนให้เราประสบ ความสำเร็จได้ตามเป้าหมายชิวิต เป้าหมายทางการเงินที่ดี (Financial Goal) จะต้องมีลักษณะสำคัญ 3 ข้อ คือ
   
  1. ต้องมีความเป็นไปได้ที่จะทำให้สำเร็จ (Achievable)
  2. ต้องวัดค่าเป็นจำนวนเงินได้ชัดเจน (Measurable)
  3. ต้องมีกรอบเวลาที่แน่นอน (Timeframe) 
   
3.    วางแผนปฎิบัติการ
    การทำแผนปฎิบัติการทางการเงิน (Financial Action Plan) ควรแสดงรายละเอียดเพียงพอที่จะทำให้สามารถนำไปปฎิบัติได้จริง เช่น กำหนดเป้าหมาย (Financial Goal) การเพิ่มเงินออมปีละ 30,000 บาท โดยมีแผน (Action Plan) คือ การลดค่าใช้จ่าย ลดการทานอาหารนอกบ้าน ลดการซื้อเสื้อผ้า เครื่องประดับลงให้ได้เดือนละ 2,500 บาท เป็นต้น
 
4.    ปฎิบัติตามแผนการที่วางไว้
    แผนทางการเงินที่จัดทำไว้คงจะไม่มีประโยชน์ หากไม่ได้ลงมือปฎิบัติ หรือมีความล่าช้าในทางปฎิบัติ ยิ่งปล่อยเวลาผ่านไปนานเท่าไร การบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ก็จะยิ่งล่าช้าออกไป และอาจส่งผลกระทบต่อเป้าหมายหรือแผนการอื่นๆ ด้วยกุญแจสำคัญที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จทางการเงิน คือ จะต้องมีความตั้งใจจริงและมีวินัยในตนเองเมื่อลงมือปฎิบัติ

5.    ทบทวนและปรับปรุงแผนอย่างสม่ำเสมอ
    คนที่ไม่สามารถบรรลุเป้า หมายทางการเงินได้ตามที่ต้องการ มักเกิดจากการไม่มีวินัยในตนเองหรือไม่ สามารถปฎิบัติตามแผนการเงินที่วางไว้ได้ ในขณะเดียวกัน การปฎิบัติตามแผนการที่วางแผนไว้อย่างเคร่งครัด ไม่มีความยืดหยุ่นก็อาจทำให้ไม่ประสบความสำเร็จได้เช่นกัน เพราะแผนการเงินที่จัดทำไว้มักถูกกระทบโดยปัจจัยหลายด้าน เช่น ความมั่นคงในอาชีพ ภาวะเศรษฐกิจ สถานภาพทางสังคม อัตราผลตอบแทน นโยบายของรัฐบาล ความมั่นคงทางการเมือง เป็นต้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มีความไม่แน่นอน มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
   
 
  การวางแผนการเงินที่ดี จึงควรมีการทบทวน (Review) และปรับปรุง (Revise) แผนให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้การเดินทางไปยังเป้าหมาย เป็นการเดินทางที่อยู่บนเส้นทางแห่งความเป็นจริง   
     
  ทุกย่างก้าวของการใช้ชีวิต ย่อมมีช่วงเวลาที่สำคัญและน่าจดจำอยู่มากมาย อยธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต จึงมุ่งมั่นสร้างสรรค์และพัฒนาแบบประกันที่หลากหลายจากประสบการณ์และความ เชี่ยวชาญในธุรกิจประกันชิวิตที่ยาวนานกว่า 59 ปี เพื่อรองรับทุกด้านของการใช้ชีวิตให้คุณมั่นใจว่า บนเส้นทางชีวิตที่ยาวไกล ไม่ว่าจะราบรื่นหรือยากลำบาก เราพร้อมจะเดินเคียงข้างและดูแลคุณในทุกช่วงเวลาสำคัญตลอดไป   
     
tsi-thailand.org



INSURANCETHAI.NET
Line+