พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2558 ที่ได้แก้ไขใหม่ และมีผลบังคับใช้วันที่ 4 ส.
810

พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2558 ที่ได้แก้ไขใหม่ และมีผลบังคับใช้วันที่ 4 ส.

พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2558 ที่ได้แก้ไขใหม่ และมีผลบังคับใช้วันที่ 4 ส.ค.

1. ลิขสิทธิ์คุ้มครองอะไรบ้างมีอะไรที่สามารถใช้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาต?

- ลิขสิทธิ์คุ้มครองงานสร้างสรรค์ เช่น บทความ หนังสือ ซอฟต์แวร์ เพลง รูปภาพ ภาพวาด ภาพถ่าย ภาพข่าว ภาพยนตร์ ละคร เป็นต้น ?#?แต่ข่าวประจำวันทั่วไปที่เป็นข้อเท็จจริง? และในรายการเล่าข่าวหรือคุยข่าวนำมารายงานเพียงว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร โดยไม่ได้นำเอาเนื้อหาทั้งข่าวมาอ่านให้ฟังนั้น ?#?ไม่เข้าข่ายงานอันมีลิขสิทธิ์? จึงสามารถเอามาใช้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาต

2. สามารถดาวน์โหลดภาพยนตร์ หรือเพลงจากอินเทอร์เน็ตมาฟังและแชร์ต่อให้เพื่อนได้หรือไม่?

- การดาวน์โหลดถือเป็นการทำซ้ำ ที่ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ กรณีเว็บไซต์ลิขสิทธิ์ที่เจ้าของลิขสิทธิ์อนุญาตให้ดาวน์โหลดได้ฟรี ก็สามารถดาวน์โหลดได้ แต่ไม่สามารถแชร์ต่อได้ ส่วนเว็บไซต์ที่ให้บริการโดยเก็บค่าใช้จ่ายในการดาวน์โหลด เมื่อผู้ใช้เสียค่าบริการแล้ว จึงจะดาวน์โหลดมาเพื่อรับชมหรือรับฟังได้ แต่ไม่สามารถแชร์ต่อได้เช่นกัน..

3. การคัดลอกบทความหรือรูปภาพจากเว็บไซต์มาใส่เฟซบุ๊กของเราหรือแชร์ต่อทางไลน์ทำได้หรือไม่?

- บทความหรือรูปภาพเป็นงานลิขสิทธิ์ การนำมาใช้ ไม่ว่าจะก๊อบปี้หรือแชร์ต่อ ควรพิจารณาประกอบกับเงื่อนไขการอนุญาตให้ใช้เนื้อหาของเว็บไซต์นั้นๆ ว่าจะทำได้มากน้อยเพียงใด ถ้านำมาใช้ในปริมาณน้อย เช่น 1-2 ภาพที่ ไม่ได้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ และไม่ได้เป็นการใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้า หรือหากำไรโดยมีการแสดงที่มาของบทความหรือรูปภาพ ก็อาจถือว่าเป็นการใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม ไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

4. การนำงานมาใช้และเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มา หรือ ให้เครดิตผู้สร้างสรรค์เพียงพอหรือไม่ที่จะไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์?

- การนำงานมาใช้และเผยแพร่ ต้องอ้างอิงที่มา หรือให้เครดิตเสมอ จึงจะไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ และต้องไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงาน ลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ รวมทั้งต้องไม่กระทบกระเทือนสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควรด้วย

5. การแฮ็กหรือหลบเลี่ยงมาตรการทางเทคโนโลยีเพื่อเข้าถึงงานลิขสิทธิ์ เช่น รูปภาพหรือคลิปวิดีโอบนอินเทอร์เน็ต และลบลายน้ำดิจิตอลออก และปรับแต่งรูปภาพหรือคลิปวิดีโอและโพสต์ไว้บนเว็บไซต์ของเรา มีความผิดอย่างไร และมีโทษเท่าใด?

การแฮ็ก (การหลบเลี่ยงมาตรการทางเทคโนโลยี) เพื่อเข้าถึงงานลิขสิทธิ์โดยรู้ว่าการกระทำดังกล่าวอาจจูงใจ หรือก่อให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ หรือสิทธิของนักแสดง ถือว่ามีความผิดฐานละเมิดมาตรการทางเทคโนโลยี มีโทษปรับ 10,000 บาท ถึง 100,000 บาท เพื่อการค้า ปรับ 50,000 ถึง 400,000 บาท หรือจำคุก 3 เดือน ถึง 2 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

หากลบลายน้ำดิจิตอลออกโดยรู้อยู่แล้วว่า การกระทำนั้นอาจจูงใจให้เกิด ก่อให้เกิดให้ความสะดวก หรือปกปิดการละเมิดลิขสิทธิ์ ถือว่ามีความผิดฐานละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิ ส่วนการปรับแต่งรูปภาพหรือคลิปวิดีโอของผู้อื่นและโพสต์ไว้บนเว็บไซต์ของเรา โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์นั้น มีความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์โดยการดัดแปลงและเผยแพร่งานลิขสิทธิ์นั้นต่อสาธารณชน โดยมีโทษปรับ 20,000 บาท ถึง 200,000 บาท เพื่อการค้า 100,000 ถึง 800,000 บาท หรือจำคุก 6 เดือนถึง 4 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

6. การก๊อบปี้ภาพหรือบทความจากอินเทอร์เน็ตมาใช้ในลักษณะอย่างไร จึงจะต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ และอย่างไรจึงไม่ต้องขออนุญาต?

- กรณีที่ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ เช่น การนำภาพหรือบทความไปใช้ในเชิงพาณิชย์ กรณีที่ไม่ต้องขออนุญาต ต้องใช้ในปริมาณพอสมควร เช่น นำมาใช้ในการวิจัยหรือศึกษางาน ซึ่งไม่ใช่เพื่อหากำไร เพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิท ใช้ในการติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น ใช้ในการเสนอข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น ใช้ในการเรียนการสอน เป็นต้น

7. การทำบล็อกแล้ว Embed โพสต์ของยูทูบมาไว้ที่บล็อกของเรา ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่?

- ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะเป็นการทำซ้ำงานลิขสิทธิ์ในบล็อก และเป็นการเผยแพร่ต่อสาธารณชนด้วย ซึ่งสิทธิในการทำซ้ำและสิทธิในการเผยแพร่งานลิขสิทธิ์ต่อสาธารณชน เป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ์ ส่วนกรณีการแชร์ลิงค์ เพื่อแนะนำและบอกที่มาของเว็บไซต์ อาจไม่เข้าข่ายการละเมิดลิขสิทธิ์

8. หากซื้อซีดีเพลง หนังสือ หรือรูปภาพมาอย่างถูกต้อง เมื่อใช้แล้วจะนำออกขายต่อได้หรือไม่

- กรณีซื้อโดยดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ ภาพยนตร์ เพลงจากเว็บไซต์ จะขายต่อได้หรือไม่? การซื้อซีดีเพลงหรือรูปภาพ ผู้ซื้อได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในแผ่นซีดีหรือรูปภาพนั้น จะขายต่อได้ แต่ผู้ซื้อไม่สามารถก๊อบปี้งานเพื่อขายได้ เพราะสิทธิในการทำซ้ำและการนำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนเป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ์ สำหรับการซื้อมาโดยดาวน์โหลดนั้น เป็นการที่เจ้าของลิขสิทธิ์อนุญาตให้ใช้สิทธิ (License) ดังนั้น ไม่สามารถนำไฟล์งานดังกล่าวออกขายต่อได้

9. ผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ต (ISP) เช่น YouTube, Google, True, DTAC จะมีความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ด้วยหรือไม่ หากผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตอัพโหลดหนังหรือเพลงละเมิดลิขสิทธิ์?

- ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ไม่ต้องรับผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์หากให้ความร่วมมือกับเจ้าของลิขสิทธิ์ ในการนำงานละเมิดออกจากเว็บไซต์ตามคำสั่งศาล

10. จะทำอย่างไรเมื่อมีคนนำงาน ลิขสิทธิ์ของเราไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต?

- เจ้าของลิขสิทธิ์อาจแจ้งเตือนให้ผู้ละเมิดหยุดละเมิด หรืออาจแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจ หรือฟ้องร้องเป็นคดีต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง หรือ อาจขอให้กรมทรัพย์สินทางปัญญา หรือศาลไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาท

by..@กรมทรัพย์สินทางปัญญา ipthailand.go.th

หมายเหต : ทุกๆท่านสามารถโหลดคู่มือมาอ่านได้ครับ จากที่ลิงค์นี้ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ นะครับ..



INSURANCETHAI.NET
Line+