Business Model - แบบจำลองทางธุรกิจ
83

Business Model - แบบจำลองทางธุรกิจ

Business Model - แบบจำลองทางธุรกิจ

ปัจจัยบ่งชี้ผลการดำเนินงานขององค์กร
ปัจจัยที่ 1 : แบบจำลองทางธุรกิจ
ปัจจัยที่ 2 : สภาพแวดล้อม
สภาพแวดล้อมทางการแข่งขัน(Competitive Environment)
สภาพแวดล้อมโดยรวม(Macro Environment)
ปัจจัยที่ 3 : การเปลี่ยนแปลง

ความสำคัญของแบบจำลองทางธุรกิจ
เป็นกลไกในการขับเคลื่อนกระบวนการในการจัดการอย่างมีกลยุทธ์เพื่อนำพาองค์กรกรให้ประสบความสำเร็จและมีผลประกอบการที่ดีได้

ความหมายของแบบจำลองทางธุรกิจ(Business Model)
หมายถึง วิธีการที่องค์กรคิดค้นขึ้นมาเพื่อประยุกต์ใช้ทรัพยากรขององค์กรอย่างเต็มที่ อันจะก่อให้เกิดผลกำไรสูงสุดและเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการ

องค์ประกอบของแบบจำลองทางธุรกิจ
รูปแบบธุรกิจที่ก่อให้เกิดผลกำไร(Profit Site)
คุณค่าที่มอบให้กับลูกค้า(Customer Value)
การกำหนดราคา(Price)
ขอบเขต(Scope)
แหล่งที่มาของรายได้ (Revenue Source)
กิจกรรมเชื่อมโยง(Connected Activities)
การนำไปใช้(Implementation)
ความสามารถ(Capabilities)
ความยั่งยืน(Sustainability)
โครงสร้างต้นทุน(Cost Structure)

รูปแบบธุรกิจอีคอมเมิร์ชที่ก่อให้เกิดกำไร
คือธุรกิจรูปแบบใดเมื่อดำเนินการบนอินเทอร์เน็ตแล้วได้เปรียบคู่แข่งขัน

คุณค่าที่จะมอบให้กับลูกค้า(Customer Value)
หมายถึงสิ่งที่องค์กรมอบให้กับลูกค้าโดยจะมีลักษณะเด่นและแตกต่างจากคู่แข่งขัน เช่น
ความแตกต่างของลูกค้า
จุดเด่นของสินค้า
เวลา
สถานที่
การบริการ(Service)
ชื่อเสียงของตรายี้ห้อ
การลดต้นทุน(Cost Reduction) จะทำให้องค์กรสามารถขายสินค้าได้ในราคาที่ต่ำกว่าคูแข็งขันซึ่งเป็นการสร้างความสนใจให้กับลูกค้าได้

ขอบเขต(Scope)
การกำหนดขอบเขตลูกค้าเป้าหมาย ส่วนแบ่งตลาดที่ต้องการหรือพื้นที่ในการกระจายสินค้าตลอดชนิดของสินค้าที่ต้องการขาย

การกำหนดราคา(Pricing)
คือการกำหนดราคาสินค้าที่เหมาะสมและยุติธรรมเพื่อให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งทางการค้าได้ด้วย

แหล่งที่มาของรายได้(Revenue Source)
หากองค์กรทำธุรกิจบนอินเทอร์เน็ตจะมีรายได้และผลกำไรทางใดได้บ้าง

กิจกรรมเชื่อมโยง(Connected Activities)
มีกิจกรรมใด้บ้างที่จะต้องดำเนินการในการธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ตแต่ละกิจกรรมจะเริ่มต้นเมื่อใด อาทิเช่น
โครงสร้างพื้นฐานขององค์กร
การบริหารทรัพยากรมนุษย์
การพัฒนาทางเทคโนโลยี
การจัดหาวัตถุดิบ

การนำไปใช้(Implementation)
การดำเนินกิจกรรมที่กำหนดไว้ มีความสำพันธ์กับโครงสร้างองค์กร ระบบและบุคลากร อย่างไร

ความสามารถ(Capabilities)
ความสามารถใหม่ ๆ ขององค์กรที่จำเป็นต้องการเพิ่มขึ้นคุณค่า(ระบบ E-Commerce) มีอะไรบ้างและระบบงาน E-Commerce หรือ ธุรกิจบนอินเตอร์เน็ตส่งผลกับความสามารถเดิมขององค์กรอย่างไรบ้าง

ความสามารถ(Capabilities)แบ่งได้เป็น
ทรัพยากร
ความสามารถหลัก
ความได้เปรียบในการแข่งขัน

ความยั่งยืน(Sustainability)
องค์กรสามารถรักษาความได้เปรียบคู่แข่งขันไว้ตลอดไปหรือไม่อย่างไร
โครงสร้างต้นทุน(Cost Structure)
การดำเนินกิจกรรมที่จะเพิ่มคุณค่าที่ดีให้กับลูกค้าต้องใช้ต้นทุนอะไรบ้างและองค์กรต้องวางแผนโครงสร้างต้นทุนด้วยวิธีใด

รูปแบบธุรกิจ (Business Model) คือ กระบวนการของเชื่อมโยง สัมพันธ์ของผู้เกี่ยวข้องกับบริษัท ในการสร้างและส่งมอบคุณค่าผ่านสินค้า/บริการไปยังลูกค้าเป้าหมาย

Business Model ถือได้ว่าเป็นแกนหลักสำคัญในการวางแผนบริหารองค์กรธุรกิจ ซึ่งสำคัญไปถึงการที่จะจัดทำแผนธุรกิจ เพื่อให้เป็นแผนธุรกิจที่ดีและมีความสมบูรณ์ครบถ้วน รวมถึงกระบวนการในการคิด Business Model นี้ และยังเป็นสิ่งที่ช่วยในการกำหนดการเริ่มต้นดำเนินการของธุรกิจ การปรับปรุงกระบวนการในการบริหารจัดการ หรือพัฒนาธุรกิจที่ดำเนินการอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Business Model สามารถแปลคำจำกัดความเป็นในภาษาไทยได้คือ รูปแบบของการดำเนินธุรกิจ ซึ่งเป็นสิ่งที่ใช้อธิบายว่ากิจการธุรกิจ จะสามารถสร้างผลกำไรได้อย่างไร โดยการสร้างความเข้าใจอย่างชัดเจนว่า กิจการที่กำลังพิจารณานั้น สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างไรได้บ้างสำหรับลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กับบริษัทฯ หรือหากมองจากอีกมุมหนึ่ง Business Model ก็คือ วิธีการในการเปลี่ยนนวัตกรรมให้มีคุณค่าทางเศรษฐศาสตร์ให้กับธุรกิจนั่นเอง ทั้งนี้ Business Model มีความแตกต่าง และไม่ใช่สิ่งที่เรียกว่า แผนธุรกิจ ที่รู้จักกันดีว่าคือ Business Plan เพราะ Business Plan คือรายละเอียดของการดำเนินการและการคาดหมายผลประกอบการของธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วยรายละเอียดจำนวนมากรวมทั้ง Financial Projections ซึ่งเป็นสิ่งที่จะขาดเสียมิได้หากเราต้องการระดมเงินทุนจากนักลงทุนหรือกู้เงินจากสถาบันการเงิน

Business Model มีรายละเอียดน้อยกว่าแผนธุรกิจมาก โดยเป็นสิ่งกำหนดแนวทาง (direction) และหลักการ (concept) ที่กิจการจะใช้ในการทำธุรกิจให้ประสพผลสำเร็จและมีผลกำไร ในหลายๆกรณี Business Model ของ กิจการจะไม่ได้ถูกเขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแต่อย่างใด แต่จะเป็นแนวคิดที่เจ้าของกิจการและผู้บริหารมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้อยู่เสมอ

Business Model คือ เครื่องมือทำงานกลยุทธ์ในการกำหนดหลักการ (Concept) และตรรก (Logic) ใน การดำเนินธุรกิจขององค์กร เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในการตอบสนองความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งเป็นการกำหนดรูปแบบและโครงสร้างขององค์กรที่จะใช้ดำเนินการ และทำงานร่วมกับผู้ร่วมงานในการสร้าง ผลิต ทำการตลาด และนำส่งซึ่งมูลค่าเพิ่ม (Value) ให้มีความสมดุลกับการลงทุนของกิจการ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลกำไรและความมั่นคงของธุรกิจในระยะยาว

องค์ประกอบของ Business Model มี 7 อย่าง
1. การกำหนดโครงสร้างพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจ ที่เรียกว่า Infrastructure ซึ่งประกอบด้วย
- การสร้างความสามารถเฉพาะทางที่มีความจำเป็น (Core Competencies) และขีดความสามารถในการดำเนินงาน (Capabilities) ในการดำเนินธุรกิจ
- การกำหนดกรอบการทำงานร่วมกันของผู้ร่วมธุรกิจ เช่น Suppliers แนวร่วมทางธุรกิจ (Business Alliances) และ Complimentors ในการสร้างความสำเร็จ
- การ กำหนดโครงสร้างของการกระจายมูลค่าและคุณประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดผลประโยชน์ร่วมระหว่างองค์กรของเรา คู่ค้า ผู้ร่วมค้าและลูกค้ากลุ่มเป้าหมายในแบบที่เรียกว่า Win Win

2. การกำหนดคุณประโยชน์และมูลค่าที่นำเสนอต่อลูกค้า (value proposition) เป็นการนำเสนอคำตอบ รูปแบบของสินค้า และบริการที่มีประสิทธิผล (effectiveness) และมีประสิทธิภาพ (efficiency) ในการแก้ปัญหาให้กับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย โดยการใช้มุมมองจากความต้องการของลูกค้าให้ดีกว่าคู่แข่งขัน ทั้งนี้โดยการนำเสนอคุณภาพที่ดีกว่า ราคาที่ต่ำกว่า หรือสินค้าที่ดีกว่า

3. การกำหนดลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย (market segment) ของธุรกิจ โดย เป็นกลุ่มเป้าหมายที่สินค้าหรือบริการของเราสามารถตอบสนองความต้องการได้ตรง กับความต้องการของลูกค้าได้ตรงที่สุด และดีกว่าคู่แข่งขัน กลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสมนั้นต้องสามารถระบุได้ว่ามีขนาดเท่าใด มีขนาดใหญ่พอที่กิจการของเราสามารถทำกำไรได้ สามารถเข้าถึงได้โดยแผนการตลาด ละสามารถดำเนินการด้านการตลาดเข้าหากลุ่มเป้าหมายได้อย่างชัดเจน รวมทั้งมีโอกาสในการเติบโตที่มากเพียงพอด้วย การกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการวางกรอบของ Business Model ขององค์กร นอกจากนั้นยังครอบคลุมถึงการวางโครงสร้างของการรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ที่เรียกว่า Customer Relationship Management ด้วย

4. การกำหนดตำแหน่งขององค์กรในการสร้างมูลค่าเพิ่มที่จะนำเสนอต่อลูกค้า เป็น การกำหนดตำแหน่งที่ตั้ง และกิจกรรมต่างๆขององค์กร ในกระบวนการสร้างมูลค่าเพิ่มที่ลูกค้าต้องการ รวมทั้งเป็นการกำหนดลักษณะของกิจกรรมที่องค์กรของเราจะดำเนินการในการสร้าง มูลค่าเพิ่ม และการวางโครงสร้างขององค์กรในการดำเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากกว่าคู่ แข่งขัน ซึ่งประกอบด้วยสิ่งต่างๆ เช่น

- การพัฒนาสินค้าและบริการที่จะนำมาจำหน่าย
- กรรมวิธีในการผลิต เพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าและบริการที่สามารถแข่งขันได้
- ขบวนการในการบริหารการจัดจำหน่ายและการกระจายสินค้า
- การตลาดและการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการอย่างมีประสิทธิภาพ

5. การกำหนดรูปแบบของการผลิตและแข่งขันในอุตสาหกรรม ประกอบ ด้วยการกำหนดกรอบของการแข่งขันในอุตสาหกรรม อาทิ การระบุว่าคู่แข่งขันของเราคือใคร รวมทั้งการเข้าใจบทบาทขององค์กรอื่นๆที่เป็นผู้ร่วมค้ากับองค์กรของเรา เช่น Supplier หรือ Complimentors เป็นต้น

6. การกำหนดรูปแบบในการสร้างรายได้และผลกำไร ประกอบ ด้วยการกำหนดวิธีการ ซึ่งทำให้ได้มาซึ่งรายได้ การคำนวณต้นทุนการดำเนินการ และการกำหนดกรอบของผลกำไรจากการดำเนินการที่เหมาะสมในการทำธุรกิจ

7. การเลือกกลยุทธ์การแข่งขันและการสร้างความได้เปรียบทางด้านการแข่งขันที่เหมาะสม ที่จะสามารถก่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันได้อย่างมีผลดีในตลาดทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

เมื่อเราเข้าใจแล้วว่า Business Model คืออะไร และประกอบด้วยสิ่งใด มาดูตัวอย่างของ Business Model ดูว่าเป็นอย่างไรบ้าง
มี Business Model ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ไม่น้อยกว่า 30 รูป แบบ  ตัวอย่างเช่น

1. รูปแบบธุรกิจแบบการบอกรับเป็นสมาชิก (Subscription Business Model) เริ่ม ใช้โดยหนังสือพิมพ์และนิตยสารเมื่อนานมาแล้ว และก็ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยมีธุรกิจอื่นไม่น้อยนำไปใช้ด้วย เช่น เคเบิลทีวี บริการโทรศัพท์ สถาบันการเงิน บริษัทประกัน โดยการขายสินค้าอย่างต่อเนื่องให้กับลูกค้า แทนที่จะเป็นการขายทีละครั้งแยกกันออกไป ทั้งนี้ก็เพื่อสร้าง Brand Loyalty ในกลุ่มลูกค้า ซึ่งมีหลายแบบ เช่น
o      การบอกรับเป็นสมาชิกสำหรับสินค้าที่มีจำนวนแน่นอน เช่น การเป็นสมาชิกนิตยสารเป็นรายปี
o      การขายสมาชิกแบบไม่จำกัดการใช้งาน เช่น การให้เช่าบ้าน ตั๋วโดยสารรถไฟแบบเหมาเป็นรายเดือน หรือรายอาทิตย์ในยุโรป หรืออเมริกา
o      การ บอกรับเป็นสมาชิกโดยมีค่าใช้จ่ายขั้นต่ำ และต้องจ่ายเพิ่มหากใช้งานสินค้าหรือบริการเกินที่กำหนดไว้ เช่น จ่ายค่าโทรศัพท์รายเดือนๆ ละ 299 บาท ใช้ได้ตามนาทีที่กำหนด หากใช้เกินกำหนดลูกค้าต้องจ่ายเงินเพิ่มเติม

รูป แบบธุรกิจนี้ทำให้ผู้ผลิตมีรายได้ที่สม่ำเสมอมากขึ้น เช่น นิตยสารบางเดือนอาจขายไม่ดี ยอดขายก็จะวูบวาบ การขายสมาชิกแก้ปัญหาได้ สำหรับลูกค้า การบอกรับสมาชิกก็ทำให้เกิดความสะดวก ไม่ต้องไปหาซื้อสินค้า ประหยัดเวลาได้ และราคาก็ถูกลง

2. รูปแบบธุรกิจแบบยิลเลตต์ ในการขายที่โกนหนวดและใบมีด (Razor and Blades Business Model) หรือที่รู้จักกันในอีกชื่อว่า การใช้เหยื่อล่อเพื่อให้ติดเบ็ด (Bait & Hook) โดยการขายสินค้าหลัก (ที่โกนหนวด) ในราคาเท่าทุนหรือต่ำกว่าทุน แล้วทำกำไรจากส่วนประกอบที่ใช้สิ้นเปลือง (ใบมีด) หรือ อีกตัวอย่างก็คือบริษัทผลิตฝาจีบ ให้เครื่องจักรปิดขวดเครื่องดื่มฟรีกับลูกค้า แล้วทำกำไรจากการขายฝาจีบอย่างต่อเนื่อง และในปัจจุบันคือการขายเครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือดราคาต่ำกว่าทุน เพื่อทำกำไรจากแถบทดสอบน้ำตาลในเลือดเป็นต้น

3. รูปแบบธุรกิจแบบแชร์ลูกโซ่หรือที่เรียกกันอีกชื่อว่าแบบพีระมิด เป็น รูปแบบการทำธุรกิจที่พวกสิบแปดมงกุฎใช้ในการทำกำไรโดยใช้ความโลภและความโง่ ของเหยื่อเป็นที่ตั้ง นั่นก็คือลูกค้าที่เข้าร่วมธุรกิจจะสามารถทำเงินได้ ไม่ใช่โดยการขายสินค้า แต่โดยการชักชวนคนอื่นเข้าร่วมโครงการ ในปัจจุบันมีมากมายทั้งบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และรอบตัวเรา ที่เป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทยก็คือแชร์น้ำมันในอดีต ระบบแชร์ลูกโซ่นี้ ต่อมาได้ถูกพัฒนาให้ถูกกฎหมายและสามารถดำเนินธุรกิจได้เป็นระบบการขายตรงแบบ หลายชั้นที่เรียกว่า Multi Level Marketing (MLM) โดยหลักการพื้นฐานของรูปแบบแชร์ลูกโซ่คือ
o  หากินบนความโลภของคน โดยชี้ผลตอบแทนที่สูงมากจากการเข้าร่วมขบวนการ
o  ใช้ สินค้าเป็นเครื่องหลอกล่อ ในขณะที่ผลประโยชน์ไม่ได้มาจากกำไรในการขายสินค้า เช่น จะทำกำไรได้จากการซื้อน้ำมันโดยไม่เคยเห็นน้ำมันเชื้อเพลิงเลย แต่รายได้ที่ผู้เข้าร่วมขบวนการได้รับจะมาจากการกินหัวคิวจากคนอื่นที่เรา ชักชวนมาเข้าร่วมโครงการที่เรียกว่า Downline
o  คน ที่เข้าร่วมขบวนการในตอนแรกๆจะได้รับผลประโยชน์ แมลงเม่าที่เข้าร่วมทีหลังจะเป็นผู้เสียหาย โดยการคำนวณ พบว่ามีผู้เข้าร่วมขบวนการในตอนแรกๆไม่เกินร้อยละ 16 ที่จะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน ที่เหลือเจ๊งหมดอย่างแน่นอน

4. รูปแบบธุรกิจแบบการขายตรงแบบหลายชั้น (MLM) แตก ต่างจากรูปแบบการทำธุรกิจแบบแชร์ลูกโซ่ที่ผิดกฎหมาย แต่ก็มีปัญหามากพอควรในเรื่องภาพพจน์ของการทำธุรกิจ และไม่เป็นที่ยอมรับในหลายประเทศเนื่องจากคอมมิสชั่นที่จ่ายจากราคาสินค้า ที่จำหน่ายแบบ MLM อาจสูงถึงกว่าร้อยละสี่สิบของราคาขายของสินค้า ซึ่งบางประเทศมองว่าเป็นการค้ากำไรเกินควร แต่ก็มีการดำเนินธุรกิจในรูปแบบนี้กว่า 100 ประเทศ ทั่วโลก ทั้งนี้รายได้จากนักขายที่เข้าร่วมกิจการจะมาจากคอมมิสชั่นการขายสินค้า ไม่ได้มาจากการหาคนอื่นเข้าร่วมโครงการโดยตรง มีรูปแบบดำเนินการหลายอย่างเช่น

o      โครงสร้างแบบ Unilever ที่ ใช้โดยบริษัทหลายแห่งเช่นแอมเวย์ โดยนักขายจะมีสองแบบคือกลุ่มผู้จัดการและกลุ่มนักขายทั่วไป นักขายจะได้รายได้จากคอมมิสชั่นการขายสินค้า แต่ผู้จัดการจะได้จากการขายสินค้าของตนเอง หัวคิวจากยอดขายของนักขายในสายของตนเองที่เรียกว่า Downline และโบนัสพิเศษเมื่อยอดขายรวมของตนเองและ Downline เกินเป้าหมายที่บริษัทกำหนดไว้
o      โครงสร้างแบบ ไบนารี (Binary) กำหนดให้นักขายแต่ละรายมี Downline ได้ไม่เกินสองสาย และจ่ายคอมมิสชั่นเป็นรอบๆ เช่นทุกเดือน ทั้งนี้โดย Pline จะได้รายได้หาก Downline ทั้งสองสายทำยอดขายได้ตามเป้า

จะ เห็นได้ว่ารูปแบบธุรกิจแบบนี้ซับซ้อนมาก และจะมีผู้เข้าร่วมจำนวนมากไม่เข้าใจระบบการทำงานอย่างถ่องแท้ จึงมีนักขายที่เข้าร่วมโดยไม่ประสบความสำเร็จในการทำงานเป็นจำนวนมาก

5. รูปแบบธุรกิจของสายการบินต้นทุนต่ำ (Low Cost Carrier Business Model) โดย การเสนอราคาค่าโดยสารที่ต่ำกว่า แลกเปลี่ยนกับการลดประเภทการให้บริการลง เช่น การมีชั้นโดยสารชั้นเดียว ไม่มีเลขที่นั่ง ราคาตั๋วอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความต้องการของการเดินทางที่อาจมากขึ้นในฤดู การเดินทาง และเมื่อมีที่นั่งค่อนข้างเต็มบนเครื่องบิน ไม่มีการให้บริการอาหารและเครื่องดื่มฟรีบนเครื่อง ใช้การขายตรงไม่ผ่านตัวแทนจำหน่าย ใช้เครื่องบินที่ราคาต่ำกว่าและอาจมีอายุใช้งานมานานกว่า ใช้เครื่องบินเพียงรุ่นเดียว มีการควบคุมต้นทุนน้ำมันโดยใช้การซื้อในตลาดล่วงหน้าเพื่อลดต้นทุน และอื่นๆอีกมากมาย

ยังมี Business Model แบบอื่นอีกมากมาย เช่น รูปแบบการทำธุรกิจโดยสร้างการผูกขาด (monopoly) รูปแบบการทำธุรกิจแบบตัดคนกลางเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการจัดจำหน่าย การทำธุรกิจโดยใช้การประมูลราคา (auction & reverse auction) และอื่นๆอีกมากมาย

การเลือกรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่เหมาะสมก็คือ การเลือกหัวใจของการประกอบการนั่นเอง และแน่นอนครับ Business Model บางประเภทที่เคยใช้และประสบความสำเร็จในอดีตในที่สุดก็จะล้าสมัยและถูกทดแทนด้วย Business Model แบบ ใหม่ๆที่มีความพลิกแพลงมากกว่าเดิม รูปแบบการทำธุรกิจแบบใหม่จะถูกสร้างขึ้นตลอดเวลา ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างความแตกต่าง ความน่าสนใจของสินค้าหรือบริการ รวมทั้งเพื่อสร้างความได้เปรียบทางด้านการแข่งขัน

ถ้าคุณเป็นเจ้าของกิจการหรือผู้บริหาร ให้รู้ไว้เลยว่า ความเข้าใจในข้อดีข้อด้อยของ Business Model แบบต่างๆ และการเลือกใช้ Business Model ที่ เหมาะสมเป็นสิ่งที่มีความสำคัญสุดสุดต่อความสำเร็จทางธุรกิจของคุณ และรูปแบบของธุรกิจที่ถูกนำมาใช้จะคงทำงานอย่างต่อเนื่อง เปรียบเสมือนชีพจรของธุรกิจที่เต้นอยู่ตลอดเวลา เมื่อไรที่หัวใจอ่อนล้า หมดแรง ล้าสมัย ชีพจรก็จะเต้นอ่อนลง กำไรและผลการดำเนินการก็จะลดลง ซึ่งก็เป็นสัญญาณบอกเหตุว่าเราต้องการ Business Model แบบใหม่แล้ว ถ้าจะให้ธุรกิจเดินต่อไป



INSURANCETHAI.NET
Line+