กรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสําหรับที่อยู่อาศัย
830

กรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสําหรับที่อยู่อาศัย

กรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสําหรับที่อยู่อาศัย
ได้มีการจัดทําขึ้นด้วยความร่วมมือระหว่างสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.)และ

สมาคมประกันวินาศภัยโดยเป็นการพัฒนารูปแบบกรมธรรม์ประกันภัยแยกออกมาจากกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยที่ใช้
อยู่ในปัจจุบันทั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีกรมธรรม์ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคเฉพาะกลุ่มมากยิ่งขึ้นซึ่งในที่นี้หมายถึง
เจ้าของที่อยู่อาศัย และเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความเสี่ยงภัยของที่อยู่อาศัยซึ่งมีความเสี่ยงภัยต่ําเมื่อเทียบกับลักษณะภัยอื่นๆ เช่น
โรงงานอุตสาหกรรม
โรงแรม
สํานักงาน
เป็นต้น
ผู้บริโภคที่เป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยจะได้รับประโยชน์จากการทําประกันอัคคีภัยสอดคล้องกับสภาพความเสี่ยงภัยของตน

ความคุ้มครอง
กรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสําหรับที่อยู่อาศัยจะให้ความคุ้มครองความ
เสียหายที่เกิดจาก
1. ไฟไหม้รวมถึงไฟไหม้ป่าพุ่มไม้ พงรก และการเผาป่าเพื่อปราบพื้นที่
2. ฟ้าผ่า
รวมถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อเครื่องไฟฟ้าและอุปกรณ์ ไฟฟ้าที่เกิดจากการลัดวงจรเนื่องจากฟ้าผ่า
3. การระเบิดทุกชนิด
4. ภัยจากยานพาหนะ หรือช้าง ม้า วัว ควาย จากการชนโดยยานพาหนะ ต่างๆ
(รวมถึงช้าง ม้า วัว ควาย) แต่ต้องไม่ใช่ยานพาหนะของผู้เอาประกันภัย
5. ภัยจากอากาศยาน หรือวัตถุที่ตกจากอากาศยาน จากการชน หรือ ตกใส่ ตัวอากาศยาน หรือ ของที่ตกจากอากาศยาน ให้หมายรวมถึง จรวด และยานอวกาศด้วย
6. ภัยเนื่องจากน้ําเกิดขึ้นโดยอุบัติเหตุ จากการปล่อย รั่วไหล ล้นจาก ท่อน้ํา ถังน้ําฯ รวมถึงน้ําฝนที่ผ่านเข้าทางอากาศที่ชํารุด แต่ไม่รวมถึง น้ําท่วม และท่อประปาที่

แตกนอกอาคาร

ภัยที่ซื้อเพิ่มเติมได้
1.ภัยลมพายุ
2.ภัยจากลูกเห็บ
3.ภัยจากควัน
4.ภัยแผ่นดินไหว
5.ภัยน้ําท่วม
6.ภัยการนัดหยุดงาน การจลาจล หรือการกระทําอันมีเจตนาร้าย (ยกเว้นการกระทําเพื่อผลทางการเมืองศาสนาหรือลัทธินิยม
7.ภัยต่อเครื่องไฟฟ้า การกําหนดจํานวนเงินเอาประกันภัย ผู้เอาประกันสามารถเลือกการกําหนดจํานวนเงินเอาประกันภัยได้ 2 แบบ คือ
1.แบบปกติ
โดยการกําหนดจํานวนเงินเอาประกันตามมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สิน (Actual Cash Value)
2.แบบการชดใช้ตามมูลค่าทรัพย์สินที่เป็นของใหม่ (Replacement Cost Valuation หรือ New for Old)

การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
1.การกําหนดจํานวนเงินเอาประกันภัยตามมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สิน
(Actual Cash Value) บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามมูลค่าที่แท้จริง ทรัพย์สินมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สิน เท่ากับ มูลค่าทรัพย์สินที่เป็นของใหม่ หักด้วยค่า

เสื่อมราคา ณ เวลาและสถานที่ที่เกิดความเสียหาย
2.การกําหนดจํานวนเงินเอาประกันภัยตามมูลค่าทรัพย์สินที่เป็นของใหม (Replacement Cost Valuation) บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม มูลค่าทรัพย์สินที่เป็น

ของใหม่
ณ เวลา และสถานที่ที่เกิดความเสียหาย

ประโยชน์เพิ่มเติมจากกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย
1.ผู้เอาประกันภัยได้รับความคุ้มครองพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยซึ่งให้ความคุ้มครองพื้นฐานเพียง 3 ภัย ได้แก่
ไฟไหม้
ฟ้าผ่า
และการระเบิดของแก๊สที่ใช้สําหรับทําแสงสว่าง หรือประโยชน์เพื่อการอยู่อาศัยเท่านั้น

แต่กรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสําหรับที่อยู่อาศัยให้ความคุ้มครองพื้นฐานเพิ่มเป็น 6 ภัย ดังได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น
2. ให้ประโยชน์กรณีกําหนดจํานวนเงินเอาประกันภัยคลาดเคลื่อน

กรมธรรม์ประกันอัคคีภัย
ถ้าหากจํานวนเงินเอาประกันภัยน้อยกว่ามูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สินการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจะลดลงตามหลักการเฉลี่ย

กรมธรรม์ฯ ที่อยู่อาศัย
ถ้าหากจํานวนเงินเอาประกันภัยคลาดเคลื่อนจากมูลค่าที่แท้จริงแต่ยังไม่ต่ํากว่าร้อยละ70ของมูลค่าทรัพย์สินเมื่อเกิดความเสียหายเพียงบางส่วน
บริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมเสมือนกับที่ได้ทําประกันไว้เต็มมูลค่า

(หลักการเฉลี่ย หมายถึงในกรณีที่จํานวนเงินเอาประกันต่ํากว่ามูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สินจะถือว่าผู้เอาประกันภัยได้เอาประกันตัวเองในส่วนต่างนั้น บริษัทประกันภัย

จะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนล
ดลงตามส่วน)

3. เพิ่มเงื่อนไขให้บริษัทต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนพร้อมทั้งดอกเบี้ยในฐานะลูกหนี้ผิดนัดในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี
4. ข้อดีที่เห็นได้ชัดเจนของ “กรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสําหรับที่อยู่อาศัย” คือ เรื่องเบี้ยประกันภัย ยกตัวอย่าง เช่น
บ้านหลังหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครมีมูลค่า 1,000,000 บาท
ทําประกันภัยอัคคีภัยสําหรับ ที่อยู่อาศัยไว้เต็มมูลค่า คือ วงเงินเอาประกันภัยเท่ากับ1,000,000 บาท
ตามกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยแบบทั่วไป ผู้เอาประกันภัยจะต้องจ่ายเบี้ยประกันภัย 900 บาท ต่อปี
แต่สําหรับ ”กรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสําหรับที่อยู่อาศัย” ซึ่งให้ความคุ้มครองกว้างกว่าดังได้กล่าวแล้วข้างต้น
ผู้เอาประกันภัยก็จะจ่ายเบี้ยประกันภัยเท่าเดิม คือ 900 ต่อปี หากเป็นกรมธรรม์ ประกันอัคคีภัยแบบทั่วไป
ผู้เอาประกันภัยซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติมให้มี ความคุ้มครองเท่ากับกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสําหรับที่อยู่อาศัย
ผู้เอาประกันภัยจะต้องเสียเบี้ยประกันภัยรวม 1,200 บาทต่อปี เท่ากับว่ากรมธรรม์ ประกันภัยสําหรับที่อยู่อาศัยนี้ทําให้ประหยัดเบี้ยประกันได้ 300 บาท

ข้อแนะนําในการเลือกทําประกันภัยที่อยู่อาศัย
ขอแนะนําให้ประชาชนทุกคนได้สนใจทําประกันอัคคีภัยสําหรับที่อยู่อาศัย
เนื่องจากเบี้ยประกันภัยที่จะต้องจ่ายจะมีจํานวนเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับความคุ้มครองที่จะได้รับและหากจะให้ได้ประโยชน์ยิ่งขึ้นจากการ
ทําประกันอัคคีภัยสําหรับที่อยู่อาศัยดังกล่าว ขอแนะนําให้ประชาชนทํา ประกันระยะยาว 2ปี หรือ 3ปี ซึ่งจะได้รับส่วนลดเบี้ยประกันภัยสําหรับ
การทําประกันภัยระยะยาวอีกนั่นคือ
หากทําประกันภัยระยะยาว 2 ปี บริษัทจะคิดเบี้ยประกันภัยเท่ากับ 175% ของเบี้ยประกันภัย 1ปี และ
หากทําประกันภัยระยะยาว3ปี บริษัทจะคิดเบี้ยประกันภัย 250%ของเบี้ยประกันภัย1ปี

จากตัวอย่างข้างต้นถ้าทําประกันภัยแบบต่ออายุปีต่อปี เป็นเวลา 3 ปี เบี้ยประกันภัยรวมจะเท่ากับ 2,700 บาท (ปีละ900บาท)
ในขณะที่ทําประกันภัยแบบระยะยาวระยะเวลาเอาประกัน3ปี จะจ่ายเบี้ยประกันเพียง2,250บาท (250%ของ900บาท)
ซึ่งเท่ากับประหยัดเบี้ยประกันภัยได้450บาท
ทั้งนี้การทําประกันอัคคีภัยสําหรับที่อยู่อาศัยระยะยาวนี้สามารถทําได้สูงสุดถึง30ปี และจะได้รับประโยชน์จากการลดเบี้ยประกันภัยที่เพิ่มขึ้น

อ้างอิง
คู่มืออัคคีภัยฉบับคปภ



INSURANCETHAI.NET
Line+