วิตามินดี (Vitamin D)
901

วิตามินดี (Vitamin D)

จริงหรือที่วิตามินดีมีบทบาทสำคัญกับสุขภาพปากและฟันของเราที่สุด แต่จากการศึกษาวิจัยกลับพบว่ายังมีวิตามินอีกหลากหลายชนิดที่ทำหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์ช่องปาก เหงือก และฟันของเราอยู่และถ้าขาดตัวใตตัวหนึ่งไปก็อาจจะทำให้ฟันสวยๆ ของเรามีอันต้องจากไปก่อนเวลาอันควรเรามาทำความรู้จักวิตามินผู้พิทักษ์เหล่านี้กันดีกว่า

วิตามินเอ ช่วยให้กระดูก ผม ฟัน และเหงือกแข็งแรง พบมากในผักสีต่างๆ เช่น แครอท ผักโขม
วิตามินดี เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน พบในน้ำมันตับปลา ไข่แดง และสังเคราะห์ที่ผิวหนังมีหน้าที่ส่งเสริมการดูดซึมแคลเซียมจากทางเดินอาหารและมีความจำเป็นในการรักษาแคลเซียมและฟอสฟอรัสในร่างกาย การขาดวิตามินและแคลเซียม เป็นผลทำให้การเพิ่มพูนเกลือแร่ไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิดโรคกระดูกอ่อนและโรคฟันผุได้ง่าย
วิตามินอี ถ้าคุณไปอุดฟันมา วิตามินอีนี่ล่ะค่ะจะเป็นฮีโร่ของคุณเพราะว่าช่วยป้องกันความเป็นพิษจากปรอทซึ่งอาจหลุดออกจากอามัลกัมที่ใช้อุดฟัน
วิตามินบี 2 มีอยู่ในอาหารประเภทเครื่องใน นม โยเกิร์ต ผักใบเขียว และปลา อาการขาดวิตามิน บี 2 จะทำให้เกิดโรคปากนกกระจอก แผลโคนลิ้นหรือลิ้นแตก และแผลในปากเปื่อย
วิตามินบี 12 พบมากในตับ ไต รองลงมาได้แก่ เนื้อสัตว์ ไข่แดง และอาหารหมักดอง วิตามินชนิดนี้เป็นหน่วยช่างช่วยซ่อมแซมเซลล์ให้เป็นปกติ การขาดวิตามินบี 12 ทำให้เกิดอาการลิ้นเป็นแผลได้
วิตามินซี เป็นวิตามินที่ร่างกายไม่สามารถที่จะสร้างขึ้นเองได้ จึงจำเป็นต้องได้รับจากการรับประทานเข้าไป อย่างเช่น ผลไม้รสเปรี้ยว วิตามินซีจำเป็นต่อการสร้างเนื้อเยื่อที่จะช่วยรักษาโครงสร้างเหงือก และส่วนอื่นในช่องปาก การขาดวิตามินซีจะทำให้เหงือกอักเสบ และเกิดภาวะเลือดออกตามไรฟัน

วันๆ หนึ่งเราต้องใช้งานอวัยวะส่วนนี้กันหลายครั้งใช่ไหมคะ ต่อจากนี้ก่อนใช้งานอย่าลืมเลือกอาหารที่มีประโยชน์และเพิ่มพลังให้ฟันซี่น้อยๆ ของคุณด้วยนะคะ เรามีเคล็ดลับง่ายๆ มาฝากกันค่ะ ลองเริ่มต้นจากมื้อเช้ากับเครื่องดื่มธัญญาหารรสช็อกโกแลต ไขมันต่ำและไม่มีโคเลสเตอรอล ที่มีวิตามินอีและซีที่มีส่วนช่วยในกระบวนการต่อต้านอนุมูลอิสระ แถมยังอุดมด้วยแคลเซียมมีส่วนช่วยในกระบวนการสร้างกระดูกและฟันที่แข็งแรงอีกด้วยค่ะ

วิตามินดี เป็นตัวสำคัญที่ทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมแคลเซียมได้ดี หากขาดวิตามินดีจะเกิดปากแห้ง มีรสขม มีอาการร้อนๆ ในปากบ่อยๆ วิตามินมีมากในไข่แดง ปลา นม
เหล่านี้คือวิตามินและแร่ธาตุที่เราจะต้องมีอยู่อย่าให้ขาด

ขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันสำหรับผู้ใหญ่คือ 200 – 400 IU หรือ 5 – 10 mcg.
ทารกที่ดื่มนมแม่ควรได้รับวิตามินดี 200 IU ต่อวัน นอกเสียจากว่าหย่านมแล้ว และเปลี่ยนมาดื่มนมสูตรเสริมวิตามินดีอย่างน้อย 500 ซีซีต่อวันแล้ว และสำหรับเด็กที่ดื่มนมขวดสูตรเสริมวิตามินดี แต่ปริมาณไม่ถึง 500 ซีซีต่อวัน ก็ควรรับประทานวิตามินดีเสริมเช่นกัน
วิตามินดีในรูปแบบของอาหารเสริม มักวางจำหน่ายในรูปแบบ เม็ดหรือแคปซูล มีขนาดประมาณ 400 IU ซึ่งดัดแปลงมาจากน้ำมันตับปลา โดยขนาดที่รับประทานกันโดยทั่วไปคือ 400 – 1,000 IU

ผู้ที่อยู่อาศัยในเมือใหญ่ โดยเฉพาะในบริเวณที่มลพิษหมอกควันหนาแน่น ควรได้รับวิตามินดีเพิ่มมากขึ้น
ประโยชน์ของวิตามินดีผู้ที่ทำงานกลางคืนและไม่ค่อยตากแดด ควรรับประทานวิตามินดีเพิ่ม
หากคุณรับประทานยากันชัก คุณควรต้องรับประทานวิตามินดีเพิ่ม
คนผิวเข้มที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีแดดน้อย ควรรับประทานวิตามินดีเพิ่ม
หากคุณอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป หรือมีน้ำหนักตัวเกิน คุณมีความเสี่ยงต่อการมีวิตามินดีในร่างกายต่ำ
เด็กและวัยรุ่นที่ไม่ได้ดื่มนมที่มีวิตามินดี อย่างน้อย 500 ซีซีต่อวัน ควรรับประทานอาหารอื่นที่มีวิตามินดีสูง หรือรับประทานวิตามินรวมที่มีวิตามินดีรวมอยู่ด้วยอย่างน้อย 200 IU

อย่าให้สุนัขหรือแมวรับประทานวิตามินดีเป็นอาหารเสริม ยกเว้นว่าสัตวแพทย์เป็นผู้แนะนำในบางกรณี
วิตามินดีจะทำงานร่วมกับวิตามินเอ วิตามินซี โคลีน แคลเซียม ฟอสฟอรัสได้ดีที่สุด

ผลเสียของการรับประทานวิตามินดีเกินขนาด หากรับประทานในปริมาณมากต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน หรือประมาณ 20,000 IU ต่อวัน อาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ หรือหากรับประทานมากกว่า 1,800 IU ต่อวัน อาจทำให้เกิดภาวะวิตามินดีเกินในเด็ก สำหรับอาการอื่น ๆ ที่บ่งบอกว่าในร่างกายมีวิตามินดีมากเกินไป เช่น กระหายน้ำมากผิดปกติ เจ็บตา คันตามผิวหนัง อาเจียน ท้องร่วง กลั้นปัสสาวะไม่ได้ มีหินปูนแคคลเซียมสะสมที่ผนังหลอดเลือด ตับ ไต ปอด กระเพาะอาหารอย่างผิดปกติ
โรคจากการขาดวิตามินดี : โรคกระดูกอ่อนในเด็ก ฟันผุขั้นรุนแรง โรคกระดูกน่วม ภาวะกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ

วิตามินเป็นปัจจัยอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย แต่ต้องการในปริมาณน้อยๆ เท่านั้น การขาดวิตามินเป็นผลให้เกิดภาวะผิดปกติหรือเป็นโรค วิตามินที่มีอยู่มากมายหลายชนิดอาจจำแนกออกได้กว้างๆ เป็นวิตามินที่ละลายได้ในน้ำ กับวิตามินที่ละลายได้ในไขมัน

วิตามินเอ

วิตามิน เอ เป็นสารประกอบสีเหลืองจางเกือบไม่มีสี ละลายได้ในไขมันหรือตัวทำละลายไขมันและไม่ละลายในน้ำ แหล่งที่มาของวิตามิน เอ ใน อาหารมนุษย์โดยทั่วไปมี ๒ แหล่งคือ แหล่งที่พบในอาหารจำพวกสัตว์ (ได้แก่ preformed vitamin A), และที่พบในอาหารจำพวกพืช (ได้แก่ precursor carotene หรือ provitamin A)

แหล่งอาหารของวิตามิน เอ ในรูปก่อนสังเคราะห์ (ซึ่งพบได้เฉพาะในผลิตผลจากสัตว์) เช่น ตับ, ไต, ครีม, เนย, และไข่แดง แหล่งอาหารจำพวกพืชที่ สำคัญของวิตามินเอ ที่ออกฤทธิ์ (active vitamin A) ได้แก่ โปรวิตามิน เอ ในผักและผลไม้สีเหลือง และสีเขียว เช่น แคร์รอต, มันเทศ, พืชจำพวกแตง และน้ำเต้า (squash), แอปริคอต (ผลไม้ตระกูลลูกท้อ), ผักโขม, กะหล่ำปลีใบ (collards), บร็อคคอลี, กะหล่ำปลี, และพืชใบสีเขียวจัด (dark leafy greens) พืชยิ่งมีสีเขียวหรือสีเหลืองจัด, ยิ่งมีแคโรทีนอยู่มาก โปรวิตามิน เอ แคโรทีน เปลี่ยนเป็นวิตามิน เอ ในร่างกาย

หน้าที่ของวิตามิน เอ ในส่วนที่เกี่ยวกับช่องปาก คือส่งเสริมสุขภาพของฟัน, อวัยวะปริทันต์, ต่อมน้ำลาย, และเยื่อเมือกในช่องปาก

การขาดวิตามินเอในฟัน จากการศึกษาในสัตว์ทดลอง โดยการเลี้ยงหนูและหนูตะเภาด้วยอาหารขาดวิตามินเอ พบการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของฟันตัด และได้ให้ข้อแนะว่าการขาดวิตามินเอ ช่วยทำให้ฟันมีความไวรับต่อการผุกร่อน รายงานการศึกษาในหนูแฮมสเตอร์ที่เลี้ยงด้วยอาหารขาดวิตามิน เอ ภายหลังฟันขึ้นแล้ว พบมีฟันผุมากกว่าหนูกลุ่มควบคุม ในหนูเช่นเดียวกันที่ ขาดวิตามินเอ สามารถทำให้การเติบโตของฟันตัดช้าลงหรือแม้แต่ทำให้หยุดการเติบโตโดยสิ้นเชิงเลยได้ร่วมกับการเจริญเติบโตที่ช้าลงนี้เป็นการรบกวนต่อหน้าที่ของเซลล์สร้างเคลือบฟัน (ameloblast) ดังนั้นการสร้างเคลือบฟันก็ถูกรบกวนด้วย การรบกวนนี้ทำให้เกิดเคลือบฟันที่พัฒนาไม่สมบูรณ์และฟันดัดมีลักษณะสีขาวขุ่นรวมทั้งการสูญเสียสารสีส้มตามปรกติด้วย นอกจากนี้ในสัตว์ทดลองที่ขาดวิตามิน เอ ยังพบฟันซ้อน (crowding tooth) และรากฟัน หนาและงัน (stunting) ฟันคนไวต่อการขาดวิตามินเอ ไม่มาก และไม่พบสหสัมพันธ์สัมบูรณ์ (absolute correlation) ระหว่างการขาดวิตามินเอ กับฟันผุ หรือเคลือบฟันด้อยเจริญ (enamel hypoplasia) (รูปที่ ๖, ๗) น่าจะเนื่องจากการขาดวิตามิน เอ นี้ต้องรุนแรงมาก ซึ่งมีอุบัติการณ์น้อยเหลือเกิน

การขาดวิตามิน เอ ในอวัยวะปริทันต์ ในสัตว์ทดลอง การขาดวิตามินเอ ทำให้เนื้อเยื่อเหงือกด้าน, ขรุขระและงอกเกิน (ฮัยเพอร์เคอราโทสิส
healthcarethai.com/วิตามินกับช่องปาก/

วิตามินดี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิตามินดี หมายถึง เซกโคสเตอรอยด์ (secosteroids) ที่ละลายในไขมันกลุ่มหนึ่งซึ่งทำหน้าที่เสริมการดูดซึมแคลเซียม เหล็ก แม็กนีเซียม ฟอสเฟตและสังกะสี ในมนุษย์ สารประกอบที่สำคัญที่สุดในกลุ่มนี้ คือ วิตามินดี3 (หรือ คอเลแคลซิเฟรอล ) และวิตามินดี2 (เออร์โกแคลซิเฟรอล ) คอเลแคลซิเฟรอลและเออร์โกแคลซิเฟรอลสามารถดูดซึมจากอาหารและอาหารเสริมได้ มีอาหารน้อยชนิดมากที่มีวิตามินดี การสังเคราะห์วิตามินดี (โดยเฉพาะคอเลแคลซิเฟรอล) ในผิวหนังเป็นแหล่งของวิตามินดังกล่าวตามธรรมชาติที่สำคัญเพียงแหล่งเดียว การสังเคราะห์วิตามินดีของผิวหนังจากคอเลสเตอรอลอาศัยการได้รับแสงแดด (โดยเฉพาะรังสียูวีบี)

แหล่งอาหารที่พบวิตามินดีได้ทั่วไป ได้แก่ น้ำมันตับปลา ปลาซาร์ดีน ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาเฮร์ริง นม และผลิตภัณฑ์จากนม เป็นต้น และศัตรูของวิตามินดี ได้แก่ ควันพิษ น้ำมันแร่



INSURANCETHAI.NET
Line+