การขายชอร์ต คืออะไร
959

การขายชอร์ต คืออะไร

การขายชอร์ต คืออะไร

การขายชอร์ต ในที่นี้ หมายถึง การขายหุ้นในตลาดหุ้น ไม่ใช่การเปิด position short TFEX
การขายชอร์ตหุ้น คือการ "ยืมหุ้น" มาเพื่อ "ขาย" โดยที่ "ไม่มีหุ้นอยู่ในครอบครอง" ณ ตอนนั้น
จากคำจำกัดความแบบง่ายๆของการขายชอร์ต จะเห็นได้ว่ามี key word อยู่ 3 คำ คือ ยืมหุ้น, ขาย ,ไม่มีหุ้นอยู่ในครอบครอง

ยืมหุ้น
จะอ้างอิงถึง SBL (Securities Borrowing and Lending) หมายถึงการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์
ดังนั้นก่อนจะขายชอร์ตได้ ตามกฎ ตลท. ต้องมีขั้นตอนการยืมหุ้นจากผู้อื่นมาก่อนเสมอ เรียก การขายชอร์ตประเภทนี้ว่า covered short

แต่ในช่วง subprime เรามักจะได้ยินว่าประเทศอื่นไม่อนุญาตให้ขายชอร์ต โดยเฉพาะเจาะจงไปที่ naked short ซึ่ง naked short จะหมายถึง การขายชอร์ตหุ้นโดยไม่ต้องมีการยืมหุ้นมาก่อน (อาจจะขายไปแล้ว ค่อยมาขอยืมภายหลังได้) ดังนั้น ขั้นตอนการยืมหุ้นจึงถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการขายชอร์ต ถ้ายืมไม่ได้ก็ขายชอร์ตไม่ได้

แล้วเราจะ "ยืมหุ้น" ใครได้บ้าง
ถ้าคุณมีบัญชีกับโบรคเกอร์ คุณก็สามารถขอยืมจาก SBL desk ของบล. ได้ โดยแต่ บล. ก็จะคิดอัตราค่าธรรมเนียมยืมหลักทรัพย์ที่แตกต่างกันไป (ต้องอย่าลืมดูให้ดีว่าเป็นอัตราค่าธรรมเนียมต่อวัน ต่อเดือน หรือต่อปี บางโบรคเกอร์ quote ค่าธรรมเนียมเป็นต่อวัน อาจจะทำให้ค่าธรรมเนียมดูไม่แพงมากนัก แต่เมื่อคำนวณกลับเป็นต่อปีแล้ว อาจแพงมาก)

ตามหลัก demand และ supply ปริมาณของหุ้นที่ยืมได้จะถูกจำกัดด้วย supply ของ SBL desk ของแต่ละ บล. ดังนั้นถ้าหุ้นตัวไหนเป็นที่ต้องการมากๆ อัตราค่าธรรมเนียมในการยืมหุ้น อาจแพงกว่าหุ้นอื่นก็เป็นได้ และเนื่องจาก SBL เป็นธุรกรรม OTC (over-the-counter) จึงเปิดโอกาสให้ บล. สามารถกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมเท่าใดก็ได้ และไม่จำเป็นว่าจะต้องอยู่ในอัตราเท่ากัน

ขายอะไรได้บ้าง
หลักทรัพย์ที่อนุญาตให้ขายชอร์ตได้ในปัจจุบัน คือหลักทรัพย์ใน SET100 หน่วยลงทุนอีทีเอฟและหลักทรัพย์ในตะกร้าของหน่วยลงทุนอีทีเอฟ (เช่น ถ้ามีหลักทรัพย์ใดที่ไม่อยู่ใน SET100 แต่อยู่ใน SET HD หลักทรัพย์นั้นก็สามารถขายชอร์ตได้)

ต้องทำอย่างไร
เมื่อยืมหุ้นมาได้แล้ว ก็สามารถมาขายในตลาดได้ โดยที่จะต้อง mark S เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่ารายการนี้คือการขายชอร์ตตามกฎ ตลท. และจะขายได้ไม่ต่ำกว่าราคาล่าสุด ตามกฎ zero plus tick เนื่องจากมีการ flag ชัดเจนว่าเป็นรายการขายชอร์ต ทาง ตลท. จึงสามารถรวบรวมและเปิดเผยข้อมูลขายชอร์ตไว้ในเว็บไซท์ โดยไปที่

เว็บตลาดหลักทรัพย์หน้า home page -> ข้อมูลการซื้อขาย -> ตราสารทุน -> ข้อมูลธุรกรรมขายชอร์ต

แต่ทว่าก่อนที่เราจะยืมของจากใครได้นั้น เราก็ต้องวางทรัพย์สินค้ำประกัน หรือในธุรกรรม SBL เราจะเรียกว่า หลักประกัน เพื่อให้แน่ใจว่า ต่อให้ผู้ยืมไม่นำหลักทรัพย์มาส่งคืนภายในระยะเวลาที่กำหนด เราก็จะสามารถยึดหลักประกันนี้ไปใช้ได้ หลายคนอาจจะบอกว่า แต่ราคาหุ้นผันผวนมากนะ จะแน่ใจได้ยังไงว่าหลักประกันที่มีอยู่จะเพียงพอ ด้วยเหตุนี้เอง หลักประกันที่ถูกเรียกมานั้นจึงถูก "Mark-to-market" ทุกสิ้นวัน เพื่อให้หลักประกันที่มีอยู่มีมูลค่ามากกว่าหรือเท่ากับหลักทรัพย์ที่ยืมไปอยู่เสมอ

ในกรณีของนักลงทุนรายย่อย กลต. ได้กำหนดว่า จะต้องวางหลักประกันอย่างน้อย 150% ของมูลค่าหลักทรัพย์ สมมติว่าเราจะยืมหุ้น A 100 หุ้น ซึ่งมีมูลค่าเท่ากับ 10,000 บาท ณ วันที่ยืม (T) เราก็ต้องวางเงิน 5,000 บาท เพื่อจะยืมหุ้น และในวัน T+3 ที่ส่งมอบ เงินค่าขายชอร์ตก็จะถูกยึดเป็นหลักประกันในส่วนที่เหลือ กลายเป็น 15,000 บาท เท่ากับอัตราหลักประกันที่ทาง กลต. กำหนด

ดังนั้น การยืมหุ้นไปขายชอร์ตนั้น มีต้นทุนที่ค่อนข้างสูง ซึ่งมาจาก
1. ค่าธรรมเนียมการยืมหลักทรัพย์ ซึ่งอยู่ในช่วงตั้งแต่ 3% - 6%
2. ค่าเสียโอกาสของหลักประกันเงินสดที่ต้องวางเพิ่ม 50% ณ วันที่ยืม

ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าเรายืมข้าม corporate action เช่น XD ผู้ยืมจะต้องชดเชยเงินปันผลให้แก่ผู้ให้ยืม ซึ่งถ้าเราขายไปก่อนหน้านี้แล้ว เราก็ต้องจ่ายเงินปันผลทดแทน (manufactured dividend) ในรูปแบบเงินสด

Re: การขายชอร์ต คืออะไร
959

Re: การขายชอร์ต คืออะไร

short ก็คือการขายนั้นแหละ แต่ถ้าเป็นหุ้นเราเอง short ไปแล้ว จะซื้อคืนหรือไม่ซื้อคืนก็ได้  แต่ถ้ายืมหุ้นมา สุดท้ายก็ต้องซื้อคืน

กรณีถ้ามีหุ้นอยู่แล้ว อยากจะshortมั้ง ที่จริงมันก็คือการขายออกไปซะแล้วไปซื้อคืนตอนมันถูกลง แค่นี้ก็ได้ส่วนต่างแล้ว

ถ้าคุณมีบัญชีมาร์จิ้นอยู่กับโบรกเกอร์ ใช้บัญชีมาร์จิ้นของคุณทำ Short Sale จะเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด และประหยัดที่สุด เพราะคุณสามารถใช้หุ้นที่มีอยู่หรือ Excess Equity ที่มีอยู่ ในการทำ Short Sale ได้ โดยไม่ต้องวางเงิน 50% ที่ว่า (ความจริงก็เหมือนกับคุณวางเงิน 50% อยู่ดีนั่นแหละ เพียงแต่มันไม่ใช่เงินสดที่ออกจากกระเป๋าคุณ แต่เป็น Excess Equity ที่มีอยู่จากหลักทรัพย์ในบัญชีมาร์จิ้นของคุณ ซึ่งมันก็อยู่ที่นั่นของมันอยู่แล้ว)

ผมคิดว่าการชอร์ตช่วงฤดูจ่ายเงินปันผลมันไม่ค่อยเวิร์ก ส่วนใหญ่โบรกเกอร์มักจะให้เราซื้อกลับ เพราะการจ่าย manufactured dividend มันมีปัญหาเรื่องภาษีอยู่ และแหล่งให้ยืมหุ้นแหล่งใหญ่ๆอย่างพวกกองทุน มักจะไม่ยอมรับ manufactured benefits แต่จะกำหนดให้มีการซื้อคืนมาก่อน

Re: การขายชอร์ต คืออะไร
959

Re: การขายชอร์ต คืออะไร

Shortมีสองแบบ

1.SBL หรือก็คือยืมหุ้นชาวบ้านเขามาขาย
- ผู้ยืม จะต้องเสียดอกเบี้ยให้กับผู้ถูกยืม โดยจะคิดเรตเป็นวันไปเช่นดอกร้อยละ10ต่อปี เราก็จะคิดโดยนำ10%นั้นไปหารด้วย360วัน (bank rate) แล้วก็คิดเป็นดอกเบี้ยต่อวันโดยจะมีการเสียคอมมิ่ชชั่นตามปกติ

แต่มีข้อแม้ว่าเราจะต้องซื้อหุ้นมาคืน ให้เร็วที่สุด (ยิ่งนานก็เสียดอกยิ่งเยอะ โดยคิดจากมูลค่าหุ้นที่ยืมไป)

2.SAP หรือ ยืมหุ้นตัวเองมาขายก่อนหรือ short against port
-พูดง่ายๆก็เหมือนกับการขายคัตออกไปก่อน แล้วซื้อหุ้นกลับด้วยจำนวนเงินเท่าเดิมที่ขายออกไป หรือจำนวนหุ้นเท่าเดิมแต่ใช้เงินน้อยลง พอหุ้นเด้งกลับมาที่ราคาทุนค่อยทำการขายออกไป เช่น

มีLPNต้นทุน 11บาท อยู่2000หุ้น คิดเป็นมูลค่าเงินที่ 22000 (ไม่ร่วมvat+com)

เราเห็นว่ามันลงไป10.8 แล้ว เลยขายออกไปหมดเลยที่ 10.8*2000=21600

พอมันลงมาที่ 10.5 เราต้องเลือกว่าจะซื้อคืนแบบใด ถ้าซื้อด้วยจำนวนหุ้นเท่ากัน
ก็คือ 10.5*2000= 21000 เราใช้เงินน้อยลงในการซื้อหุ้นเท่ากับว่าเราได้หุ้นถูกลง

ส่วนต่างคือ 600 บาท

พอมันกลับมาที่ 10.8บาท เราก็ขายออกไป 2000หุ้นที่ 10.8 = 21600
เท่ากับว่ารอบนี้คุณได้กำไรอีัก600 = 1200
เมื่อนำไปรวมกับเงินต้นที่ใช้แค่ 21000+1200= 22200บาท ครับ

Re: การขายชอร์ต คืออะไร
959

Re: การขายชอร์ต คืออะไร

ขายไปเพื่ออะไร

เราขายชอร์ตไปเพื่ออะไรกัน ส่วนใหญ่ถ้าไปถามนักลงทุนทั่วไป ก็อาจจะตอบว่า "ขายไปเพราะคิดว่าหุ้นจะตก" แต่จริงๆแล้วการขายชอร์ตนั้นยังเกี่ยวข้องกับกลยุทธ์ต่างๆอีกมาก ยกตัวอย่าง เช่น

1. ขายชอร์ตเพื่อทำ arbitrage
หลายๆคนคงเคยได้ยินคำนี้ arbitrage คือการทำกำไรจากหลักทรัพย์สองอย่างที่มีลักษณะเหมือนกันทุกประการ แต่ ณ ขณะนั้น ราคาไม่เท่ากัน หลักทรัพย์ที่มีลักษณะเหมือนกันในปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น หุ้น 50 ตัว <> SET50 index futures <> TDEX ดังนั้นถ้ามีหลักทรัพย์ตัวใดตัวหนึ่งราคาต่ำกว่าอีกตัว เราก็สามารถซื้อตัวที่ราคาถูกกว่า และขายตัวที่ราคาแพงกว่า เพื่อทำกำไรจากส่วนต่าง แต่ปัญหาคือถ้าเราไม่มีหลักทรัพย์ตัวที่แพงกว่าอยู่ในครอบครองเราจะต้องทำอย่างไร เราก็ต้องยืมหลักทรัพย์จากผู้อื่นเพื่อมาขายชอร์ตนั่นเอง

2. ขายชอร์ตเพื่อทำ pair trade
ปกติแล้วเวลาเราจะซื้อหุ้นตัวใดตัวหนึ่ง เรามักจะเลือกหุ้นที่เราเชื่อว่ามีพื้นฐานดี เพื่อราคาจะเพิ่มขึ้นในอนาคต ในกรณีนี้คือมองในแง่ของ absolute performance คือมองผลประกอบการของบริษัทนั้นเพียงบริษัทเดียว ไม่ได้เปรียบเทียบกับบริษัทอื่น แต่ถ้าเราเชื่อว่าบริษัท A จะมีผลประกอบการที่ดีกว่าบริษัท B ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน เราก็สามารถทำกลยุทธ์ได้โดยการ ซื้อ A และขายชอร์ต B ได้ ซึ่งกลยุทธ์ในลักษณะนี้จะถือว่าเรา bet ที่ส่วนต่างของราคา A และ B มากกว่า bet ที่ราคาของ A หรือ B ดังนั้นต่อให้ราคาของหลักทรัพย์ A และ B ลดลงทั้งคู่ แต่ถ้าเราเชื่อว่า A เป็นบริษัทที่แข่งแกร่งกว่าบริษัท B ราคาของหลักทรัพยื A ก็ควรจะลดลงน้อยกว่า ทำให้อย่างน้อยเราก็ยังได้กำไรจาก position ที่ขายชอร์ต B ไป

Re: การขายชอร์ต คืออะไร
959

Re: การขายชอร์ต คืออะไร

FAQ ที่เกียวกับการขายชอร์ต

1. ขายชอร์ต = หุ้นตก = ทุบหุ้น จริงรึเปล่า
ใช่ ถ้า
- คุณมีหุ้นบางส่วนอยู่แล้ว และยืมหุ้นมาเพิ่มเพื่อขายชอร์ต ดังนั้นคุณจึงสามารถขายบางส่วนเพื่อกดราคาลงมา และขายชอร์ตออกไป (เลี่ยงกฎ zero plus tick rule)
- สภาพคล่องของหุ้นตัวนั้นค่อนข้างน้อย

ไม่ใช่ เพราะ
- ถ้าคุณต้อง mark S เวลาขายชอร์ต คุณจะไม่สามารถขายต่ำกว่าราคาล่าสุดได้ (zero plus tick rule)
- ปริมาณขายชอร์ตไม่ได้มากอย่างที่คิด ถ้าดูข้อมูลทางสถิติย้อนหลังจะเห็นได้ว่า ยอดรวมของธุรกรรมขายชอร์ตคิดเป็น 2% - 4% ของมูลค่าซื้อขายรวมทั้งหมด (อยู่ในช่วงตั้งแต่ 300 - 1,500 ล้านบาทต่อวัน)
- ปริมาณขายชอร์ตถูกลิมิตด้วย supply ของหุ้นที่ยืมได้ ในปัจจุบันตัวผู้ให้ยืมเอง ก็ไม่ประสงค์จะให้ยืมหลักทรัพย์เท่าไรนัก เพราะเขาเหล่านั้นกลัวว่าหลักทรัพย์ที่ถืออยู่ราคาจะลดลง
- ต้นทุนในการขายชอร์ตไม่ได้ถูกอย่างที่คิด และยังมีความเสี่ยงถ้าราคาหุ้นวิ่งขึ้น

2. โปรโมชั่นยืมคืนหุ้นภายในวันเดียวไม่คิดค่าธรรมเนียม เป็นการ dump ตลาดรึเปล่า
- ทำไมถึงไม่คิดค่าธรรมเนียมถ้ายืมคืนในวันเดียว เพราะเขาถือว่าทั้งรายการยืมและคืน settle ในวันเดียวกัน
- ถ้าไม่คิดค่าธรรมเนียมจากผู้ยืม แต่ยังต้องจ่ายค่าธรรมเนียมจากผู้ให้ยืม แล้วโบรคทำธุรกิจได้อย่างไร อาจเป็นเพราะว่าโบรคคำนวณแล้วว่าค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายให้ผู้ให้ยืมนั้นคุ้มค่าเมื่อเทียบกับค่าคอมที่ได้เมื่อผู้ยืมขายชอร์ต
- เท่าที่ทราบมา โปรโมชั่นนี้มีมาได้สักระยะแล้ว ไม่ได้เกิดขึ้นใน Black Monday หรือตลาดหุ้นอยู่ในช่วงผันผวนแบบนี้
- ถ้าดูจากสถิติการขายชอร์ต โดยเฉพาะกับหุ้นตัวใหญ่ๆ สัดส่วนการขายชอร์ตเทียบกับมูลค่าซื้อขายของ main board นั้นมีสัดส่วนที่น้อยกว่า 10% บางตัวน้อยกว่า 5% ด้วยซ้ำ

Re: การขายชอร์ต คืออะไร
959

Re: การขายชอร์ต คืออะไร

จากประสบการณ์ที่มีคนมายืมหุ้นของผมไป short ส่วนใหญ่ยืมกันไม่เกินอาทิตย์นึง
ถ้ามูลค่าหุ้นหลักแสนบาท ดอกเบี้ยก็จะได้จุ๋มจิ๋ม 20-100 บาทต่อครั้ง
นานๆ ครั้งเวลายืมแล้วผิดทาง (หุ้นขึ้น) ก็อาจจะสักสองสามอาทิตย์ ได้เงินมา 2-3 ร้อยบาท
ยังไงก็คงดีกว่าปล่อยหุ้นทิ้งไว้เฉยๆ นะครับ เหมาะสำหรับพอร์ตที่ถือยาวที่ไม่ได้กะจะมีการซื้อขายอะไรอยู่แล้ว

เขาให้ยืมกันยังไง
ต้องมีหุ้นมากหรือไม่
แล้วระหว่างนั้นเราเสียสิทธิ์อะไรบ้าง

ผมเคยยืมหุ้นมา Short เมื่อ 5 ปีที่แล้วเขายังไม่มี SSF ผมว่ามันมีข้อจำกัดหลายอย่าง แนะนำว่าถ้าสนใจจริงๆ ให้ Short ในรูปแบบของ SSF (Single Stock Futures) ดีกว่าครับ เพราะมีค่าธรรมเนียมครั้งเดียว

อธิบายคร่าวๆ ในแง่ของการยืมหุ้นมา Short

- การยืมหุ้นมา Short ถ้าจำไม่ผิดนะ (เพราะมัน 5 ปีมาแล้ว) คุณจะต้องมีบัญชี  Credit Balance ไม่ใช่ Cash Balance

- ถ้าคุณวางเงินไว้ 2.5 แสน คุณสามารถขอเป็น 5 แสน ก็ได้ในการยืม หรือจะยืมแค่ 2.5 แสนก็ได้ จริงๆ จะยืมเป็นมูลค่าเท่าไรก็ได้ ส่วนเรื่องจำนวนเงินที่วางผมไม่แน่ใจว่าเท่าไร แต่ผมเคยวางไว้ 2.5 แสน (อันนี้ไม่ใช่ข้อจำกัด)

- การยืมหุ้นจะมีข้อจำกัดในเรื่องดอกเบี้ย กี่ % เป็นรายวัน (ไม่เว้นวันหยุดราชการ) ,ค่าธรรมเนียมในการซื้อ-ขายปกติ

- การยืมหุ้นมาไม่สามารถซื้อ-ขาย ในช่วงเวลา ATO/ATC ได้

- การยืมหุ้นจะไม่สามารถยืมได้ทันที มาร์จะต้องสอบถามโบรกก่อนว่ามีหุ้นให้ยืมหรือเปล่า ถ้ามีก็อาจจะต้องเสียเวลานิดหน่อย ไม่ใช่ว่า คุณคิดว่าเช้านี้หุ้นตัวหนึ่งจะลง แล้วจะยืมได้ ณ เวลานั้นเลย ยังต้องเสียเวลาอีกประมาณ 1 ชั่วโมง ซึ่งบางทีกว่าจะถึงเวลานั้นหุ้นอาจจะลงไปเยอะแล้ว

- ถ้าหากมีการจ่ายเงินปันผลระหว่างที่คุณยืมหุ้นมา เงินส่วนต่างจากเงินปันผล คุณจะต้องคืนให้กับทางโบรก

- การคืนหุ้นจะไม่สามารถคืนได้ในทันที เช่น คุณขายไปแล้ว และคุณได้ซื้อคืนกลับในวันพฤหัส เขาจะไม่หยุดคิดดอกเบี้ยในวันพฤหัส เขาจะต้องเสียเวลาทำเรื่องส่งหุ้นคืนอีก (จำไม่ได้ว่ากี่วัน น่าจะไม่เกิน 3 วัน) ซึ่งระหว่างทำเรื่องส่งคืนหุ้น คุณจะยังคงเสียดอกเบี้ยต่อไป ลองถามมาร์ดูอีกทีเพื่อความแน่ใจ เช่น คุณคืนพฤหัส จะทำเรื่องเสร็จภายใน 3 วัน นั่นเท่ากับ เขาจะคิดดอกเบี้ยจนถึงวันอังคารถัดไป (คือนับ 3 วัน ไม่รวมวันหยุด) นั่นเท่าคุณจะต้องเสียดอกเบี้ยต่ออีก 4-5 วัน

ข้อมูลข้างต้นเป็นข้อมูลที่ผ่านมา 5 ปีแล้ว ถ้าต้องการข้อมูลที่ครบถ้วน ที่พูดมาข้างต้นเป็นข้อมูลเก่า ที่ผมเคยยืมหุ้นมา Short ครับ

นี่คือข้อจำกัดที่ผมได้รู้มาจากการใช้บริการ SBL รายละเอียดต่างๆ ทุกวันนี้ผมไม่ได้ใช้บริการ SBL แล้ว ผมว่าถึงแม้จะมองว่าเป็นโอกาสในการทำกำไร แต่ผมว่ามันมีของจำกัดเยอะมาก ซึ่งต่างจากการ Short SSF ที่เราจะเสียค่าธรรมเนียมอย่างเดียว ไม่เสียดอกเบี้ย

Re: การขายชอร์ต คืออะไร
959

Re: การขายชอร์ต คืออะไร

ลูกค้าสามารถเลือกทำธุรกรรม SBL ได้ 2 ลักษณะ พร้อมกัน คือ

เป็นผู้ให้ยืม (Lender)
เป็นผู้ยืม (Borrower)

ประโยชน์จากการทำ SBL คือ
สำหรับผู้ให้ยืม  ที่มีหุ้นใน SET 50  Index ในลักษณะการลงทุนเพื่อรับปันผล สามารถให้บริษัทยืมได้ โดยผู้ให้ยืมจะได้รับค่าธรรมเนียมการให้ยืม เป็นการเพิ่มรายได้ในการลงทุนอีกทางหนึ่ง นอกเหนือจากการรับเงินปันผล

สำหรับผู้ยืม ขณะที่ตลาดหลักทรัพย์มีทิศทางขาลง ลูกค้าผู้ยืมที่ไม่มีหุ้นในพอร์ต สามารถยืมหุ้นกับบริษัท จากนั้นทำการขายชอร์ต (เป็นการขายแพง แล้วซื้อถูก) โดยเสียค่าธรรมเนียมการยืมหุ้น ซึ่งลูกค้าสามารถเลือกที่จะซื้อแล้วขายเป็นรอบๆ ตามต้องการ หรือเลือกที่จะซื้อคืนเพื่อปิดสถานะการยืม ก็จะเป็นการเพิ่มรายได้จากการลงทุนอีกทางหนึ่ง (กรณีที่คาดทิศทางของตลาดถูกต้อง)

ทำไมต้องลงนามในสัญญา SBL
เนื่องจากธุรกรรม SBL เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่บริษัทนำเสนอให้กับลูกค้า และบริษัทมีนโยบายที่ให้ลูกค้าทุกรายทำสัญญา SBL กับบริษัท อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะทำสัญญากับบริษัทแล้ว ลูกค้าที่ต้องการทำธุรกรรม SBL จะต้องส่งคำสั่งยืม หรือให้ยืมผ่านมาทางเจ้าหน้าที่การตลาดทุกครั้ง บริษัทจึงจะทำธุรกรรมดังกล่าวตามคำสั่ง อีกทั้งกรณีให้ยืม สิทธิประโยชน์ต่างๆ ในหลักทรัพย์ของผู้ให้ยืมในฐานะเจ้าของหุ้น ยังเป็นของผู้ให้ยืมอยู่ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในเงินปันผล หรือสิทธิในหุ้นเพิ่มทุน เป็นต้น ดังนั้น ผู้ให้ยืมหุ้นกับบริษัท จึงไม่ควรกังวลกับการเปิดสัญญา SBL หรือการทำธุรกรรม SBL

สนใจที่จะเป็นผู้ให้ยืม (Lender) ต้องทำอย่างไร

ผู้ที่จะให้บริษัทยืมหุ้น เพื่อเพิ่มรายได้ สามารถดำเนินการได้ดังนี้

ลูกค้าต้องมีบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์กับบริษัท พร้อมทั้งลงนามในแบบคำขอทำธุรกรรม SBL, สัญญาดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า, เอกสารชี้แจงมาตรการป้องกันความเสี่ยงสำหรับธุรกรรม SBL และแนบสำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
ลูกค้าแจ้งคำสั่งให้ยืมหลักทรัพย์กับเจ้าหน้าที่การตลาด ซึ่งเป็นหลักทรัพย์ที่อยู่ใน SET 50 Index และ Marginable List ของบริษัท
หลักทรัพย์ที่จะให้ยืม ต้องอยู่ในบัญชีเงินสดและปลอดภาระเท่านั้น
บริษัทจะวางหลักประกันเงินสดให้ลูกค้าผู้ให้ยืมมูลค่าไม่ต่ำกว่ามูลค่าหลักทรัพย์ที่ยืมในวันที่มีการส่งมอบ และไม่อนุญาตให้ผู้ให้ยืมถอนหลักประกัน
การให้ยืมหลักทรัพย์เป็นแบบไม่กำหนดเวลา (At Call)
ผู้ให้ยืมสามารถเรียกคืนหลักทรัพย์ได้ตามเงื่อนไขที่บริษัทกำหนด
ค่าธรรมเนียมการให้ยืม คิดเป็นรายวันตามประกาศอัตราของบริษัท โดยบริษัทจะจ่ายค่าธรรมเนียมเข้าบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ทุกสิ้นเดือน หรือตอนปิดสัญญาการให้ยืม

สนใจที่จะเป็นผู้ยืม (Borrower) ต้องทำอย่างไร
ผู้ที่จะยืมหุ้นกับบริษัท ขณะตลาดมีทิศทางขาลง  สามารถดำเนินการได้ดังนี้

ลูกค้าต้องมีบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์กับบริษัท พร้อมทั้งลงนามในแบบคำขอทำธุรกรรม SBL, สัญญาดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า, เอกสารชี้แจงมาตรการป้องกันความเสี่ยงสำหรับธุรกรรม SBL  และแนบสำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
ลูกค้าแจ้งยืมหลักทรัพย์กับเจ้าหน้าที่การตลาด ซึ่งเป็นหลักทรัพย์ที่อยู่ใน SET 50 Index และ Marginable List ของบริษัท
ลูกค้าสามารถขายหุ้นที่ยืมมาได้ในราคาที่ไม่ต่ำกว่าราคาซื้อขายครั้งสุดท้าย ณ ขณะนั้น
การยืมหลักทรัพย์เป็นแบบไม่กำหนดเวลา (At Call)
ผู้ยืมสามารถคืนหลักทรัพย์ได้ตามเงื่อนไขที่บริษัทกำหนด
ค่าธรรมเนียมการยืม คิดเป็นรายวันตามประกาศอัตราของบริษัท โดยบริษัทจะเก็บค่าธรรมเนียมการยืมหุ้นจากบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ทุกสิ้นเดือน หรือตอนปิดสัญญาการยืม
สำหรับการวางหลักประกันเพื่อยืมหลักทรัพย์ 
ผู้ยืมต้องวางหลักประกันเริ่มต้น (Initial Collateral) เป็นเงินสด ก่อนการยืมไม่น้อยกว่า 150% ของมูลค่าหลักทรัพย์ที่ยืม คำนวณด้วยราคาปิดวันก่อนหน้า ซึ่งหลักประกันดังกล่าวจะไม่ได้รับดอกเบี้ย
ผู้ยืมต้องดำรงมูลค่าหลักประกันที่ต้องดำรง (Maintenance Collateral) ไม่ต่ำกว่า 140% ของมูลค่าหลักทรัพย์ที่ยืม ซึ่งคำนวณตามราคาปิดในแต่ละวัน กรณีหลักประกันต่ำกว่า 140% ผู้ยืมต้องวางหลักประกันเพิ่มจนถึงระดับ 150%
หากมูลค่าหลักประกันต่ำกว่า 120% (Minimum Collateral) ของมูลค่าหลักทรัพย์ที่ยืม บริษัทขอสงวนสิทธิ์จะทำการบังคับซื้อคืนหลักทรัพย์ (Force)

http://bualuang.co.th/

Re: การขายชอร์ต คืออะไร
959

Re: การขายชอร์ต คืออะไร

Block Trade เป็นวิธีการซื้อขายที่ให้บันทึกรายการจับคู่ซื้อขาย Single Stock Futures ที่ราคา และจำนวนสัญญาที่ตกลงกันไว้แล้วเข้ามายังระบบการซื้อขายของ TFEX ซึ่งต้องมีปริมาณการซื้อขายไม่ต่ำกว่าที่ TFEX กำหนด เช่น 20 สัญญา หรือ 100 สัญญา ขึ้นกับ Single Stock Futures แต่ละตัว
     
Block Trade จะช่วยเพิ่มสภาพคล่องของ Single Stock Futures ที่มีอยู่ 60 ตัวในตอนนี้ ให้สามารถซื้อขายได้คล่องตัว
     
วิธีการเปิดสถานะ LongSingle Stock Futures Block Trade สามารถทำได้โดยนักลงทุนที่มีหลักประกันอยู่แล้ว ต้องส่งคำสั่งซื้อ Stock futures โดยอ้างอิงที่ราคาหุ้นอ้างอิง ผ่านทางผู้แนะนำการลงทุน เพื่อติดต่อไปยังเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ Block Trade ของโบรกเกอร์นั้นๆ จากนั้นเจ้าหน้าที่จะทำการซื้อหุ้นอ้างอิงเพื่อบริหารความเสี่ยง หลังจากที่หุ้นถูกจับคู่ได้แล้ว ผู้แนะนำการลงทุน และเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการจะทำการส่งคำสั่งซื้อและขาย Single Stock Futures ด้วยวิธี Block Trade เพื่อจับคู่กันหลังจากนั้นนักลงทุนจะมีสถานะ Long Open SingleStock Futures
     
การคำนวณราคาที่ใช้ในการ LongOpen Single Stock Block Trade นั้น จะเป็นการคำนวณจากราคาของหุ้นอ้างอิง โดยใช้ราคาหุ้นรวมกับอัตราดอกเบี้ยที่ทางบริษัทหลักทรัพย์นั้นๆ กำหนด ซึ่งโดยทั่วไปจะมีสูตรการคำนวณ คือ ราคา Single Stock Futures = ราคาหุ้นอ้างอิง + ดอกเบี้ย - ปันผล
     
ตัวอย่าง ADVANC ราคา 251 บาท ดอกเบี้ย 6% ต่อปี จำนวนวันคงเหลือจนถึงวันครบอายุของ ADVANCU15 คือ 75 วัน (สมมติให้ไม่มีการจ่ายปันผลในช่วงของการถือฟิวเจอร์) หลังจากนักลงทุนส่งคำสั่งเพื่อเปิดสถานะ Long ADVANCU15 จำนวน 20 สัญญา ราคาที่ตกลงกันจะเท่ากับ
     
      ADVANCU15 open= 251 + (251*(6%*75/365)) - 0 = 254.09453 บาท
     
เมื่อผ่านไป 5 วัน พบว่าราคาหุ้น ADVANC เพิ่มขึ้นเป็น 265 บาท นักลงทุนต้องการปิดสถานะเพื่อทำกำไร จะต้องส่งคำสั่ง Short Close ADVANCU15 ไปยังผู้แนะนำการลงทุน เพื่อทำ Block Trade กับเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ราคาที่ได้จะคำนวณจากสูตร
     
ราคาหุ้นที่ขายได้ + ดอกเบี้ยที่จ่าย - ดอกเบี้ยที่ใช้จริง คือ ADVANCU15close = 265 +(251*(6%*75/365)) - (251*(6%*5/365)) = 267.88822บาท
     
นั่นคือ นักลงทุนจะ Short Close ADVANCU15 ได้ที่ราคาข้างต้น และได้กำไรจากการซื้อขาย ADVANCU15 Block Trade จำนวน 20 สัญญา ซึ่งมีตัวคูณ(Multiplier) = 1,000 หุ้น/สัญญา

      กำไร = (267.88822-254.09453) *20*1000 = 275,873.80 บาท (ก่อน commission และ VAT)
     
จะเห็นได้ว่าการทำ Block Trade ทำให้นักลงทุนสามารถทำกำไรจากการซื้อขาย Stock Futures ปริมาณมากๆ ได้ แม้ตลาดจะไม่มีสภาพคล่อง โดยเสียค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยตามที่โบรกเกอร์กำหนด นอกจากนี้ ยังสามารถทำกำไรขาลงได้ด้วยการ Short Stock Futures ได้อีกด้วย
     
สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) โทร.0-2658-6300 ext 1087, 1083

Re: การขายชอร์ต คืออะไร
959

Re: การขายชอร์ต คืออะไร

Short Selling
Short คำนี้แปลว่าไม่มี คือการเล่นหุ้นแต่ไม่มีหุ้น ไปยืมมาก่อน

Short Seller คือ คนเล่นหุ้นแบบไม่มีหุ้นหรือเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า พวกปอบทุบหุ้น

ยืมมาขายก่อน ขายเยอะๆ ตลาด panic
ในสัญญาต้องซื้อหุ้นกลับมาคืน บหลักทรัพย์ ในจำนวนเท่าเดิม จึงซื้อใหม่ด้านล่างตอนเย็นๆ หรือวันถัดๆไปเวลามันตก

หลายคนเข้าใจผิดสับสนกับ Day Trader แต่ไม่ใช่ ไม่เหมือนกัน

Short Selling ที่เริ่มในปัจจุบันคือคนที่มีเครดิตสามารถยืมหุ้นจากโบรกมาทุบก่อนได้ แล้วรับซื้อกลับตอนตลาดวายราคาถูกๆ แล้วเอาหุ้นคืนให้โบรกพร้อมได้รับเงินตอนยืม ลบ ตอนซื้อคืน และอีกส่วนคือคนของโบรกช่วยกันทุบ
ตะวันตกเขาปล่อย Short Selling ให้ยืมหุ้นมาทุบแบบมีวินัย  แค่บ.ยักษ์ๆทุบยาก แต่ฝรั่งหัวดำไทยให้ทุบได้หมด

หากสหรัฐต่อQE เร็วๆนี้แล้วตลาดหุ้นยังลบถึง ก.ค. ก็ตัวใครตัวมันละพี่น้อง
ไทยเอาระบบเลวๆShort Sell/Short Selling มาใช้พวกกองทุนฝรั่งหนีออกจากไทยแน่

การขายชอร์ต (Short Selling) คืออะไร และมีวิธีการอย่างไร
เคยหรือไม่ที่มีเหตุการณ์ซึ่งทำให้คุณทราบอย่างชัดเจนว่าราคาหุ้นจะตกลงจากปัจจุบันอย่างแน่นอน ในกรณีเช่นนี้คุณสามารถทำกำไรจากราคาหุ้นที่จะตกลงไปได้ โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องมีหุ้นตัวนั้น วิธีนี้เรียกว่า การขายชอร์ต (Short Selling)

** หมายเหตุ : การขายชอร์ตที่จะกล่าวถึงในบทความนี้ เป็นการขายเฉพาะในส่วนของหุ้น และเป็นกรณีของลูกค้าทั่วไป ที่ไม่ใช่สถาบัน **

การขายชอร์ต คือ การยืมหุ้นจากบริษัทโบรกเกอร์มาขายก่อน จากนั้นค่อยมาซื้อคืนภายหลังในราคาที่ต่ำกว่า โดยจะได้กำไรจากส่วนต่างราคา นักลงทุนจะใช้วิธีนี้เมื่อมีเหตุการณ์ที่คาดการณ์ได้ว่าราคาหุ้นจะต้องตกลงไปมากอย่างแน่นอน

การจะขายชอร์ตได้นั้น นักลงทุนจะต้องทำในบัญชีมาร์จิ้นเท่านั้น และหุ้นที่จะขาบชอร์ตได้ต้องเป็นหุ้นของบริษัที่อยู่ใน SET 100 Index เท่านั้น (หลักเกณฑ์การขายชอร์ต 2540) และ (ประกาศ ตลท เรื่องกำหนดหลักทรัพย์ที่ขายชอร์ตได้ 2553)

หากต้องการขายชอร์ต นักลงทุนที่มีบัญชีมาร์จิ้นอยู่กับโบรกเกอร์ใด ก็ให้ติดต่อไปที่บริษัทโบรกเกอร์นั้น และแจ้งความประสงค์

การทำ Short Selling นั้น เป็นการยืมหุ้นมาขาย ดังนั้นสุดท้ายแล้วก็ต้องซื้อหุ้นกลับคืนโบรกเกอร์ (Buy To Cover) เท่ากับจำนวนที่ยืมมา ซึ่งหากราคาหุ้นไม่ได้ตกลงอย่างที่คาดไว้ แทนที่จะได้กำไรก็ต้องขาดทุนจากส่วนต่างที่ขายไปถูกและซื้อกลับคืนในราคาแพง

เหตุผลในการทำ Short Selling มีอยู่ 2 ประการ 1. คือเพื่อลดความเสี่ยง 2. เก็งกำไร สำหรับข้อมูลการขายชอร์ตในแต่ละวันสามารถดูได้ ที่นี่

Re: การขายชอร์ต คืออะไร
959

Re: การขายชอร์ต คืออะไร

ผมเอง เทรดกับ fss ถ้าจะทำช้อตเซล ต้องเปิดบัญชีมาร์จิ้น และ ทำสัญญายืม และให้ยืม หลักทรัพย์ กับทางบริษัท

กรณี ยืม มาทำช้อตเซล ต้องเสีย ดอกเบี้ย รวมค่าดำเนินการให้โบรค 5% กว่าๆ ระยะเวลาไม่จำกัด แต่ว่าจะต้องปิดและส่งมอบหุ้นคืน(ซื้อคืน ก่อนหุ้นเครื่องหมายต่างๆ) เพื่อให้เจ้าของหุ้นได้รับสิทธิ์นั้น

กรณี ที่มีคนยืมหุ้นมี่เรามีอยู่ และเราทำสัญญาให้ยืมไว้แล้ว  บริษัทจะเอาหุ้นเราไปให้เค้ายืมได้เลย และให้ผลตอบแทนเรากลับมา3 %ต่อปี กว่าๆ หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% โดยที่เค้าไม่ต้องบอกเราล่วงหน้า แต่ถ้าเกิดเราอยากขายหุ้นนั้นตอนมีคนยืมหุ้นเรา เค้าจะหาหุ้นคนอื่นมาให้เราขายได้ทันทีและตัดรายได้การยืมของเราหมดแค่วันก่อนหน้านั้น

ผมเองเพิ่งเปิดบัญชียืมและให้ยืมหุ้นทำ SBL มาเดือนกว่า วันนี้เพิ่งได้รับใบแจ้งยอด ว่ามีคนยืม intuchผม ไปขาย เมื่อ 6 กย ที่ผ่านมาก็เพิ่ง และเป็นการยืมขายในวันเดียว ได้ค่าขนม มาหน่อยนึง

ตัวเลขคิดเล่นๆ ถ้ามี ใคร มี intuch ในพอร์ต 1 ล้านหุ้น มีคนยืม ไป sbl ณ ราคาวันที่ 6 กย จะได้ค่ายืมหักภาษีแล้ว ประมาณ วันล่ะ 6 พัน ถ้ายืมเดือนนึง ก้อประมาณ 1.8 แสน หมอบำรุง มี 20 ล้านหุ้น ถ้ามีคนยืมแกหมด ก้อรับ วันล่ะ 1.2 แสน เดือนล่ะ 3.6 ล้าน

Re: การขายชอร์ต คืออะไร
959

Re: การขายชอร์ต คืออะไร

การ short sell คือการยืมหุ้นคนอื่นมาขายเพื่อให้หุ้นมันราคาตกลงมาครับ แต่ต้องเสียตังมาจ่ายดอกให้คนที่เค้ายืมแล้วต้องเอาหุ้นมาคืนเค้าด้วย
หุ้นที่โดนการ short sell หนักๆจะร่วงแรงเพราะเม่าจะตกใจขายตามทำให้หุ้นลงเกิด panic sell ตาม แต่ท้ายสุดคนที่ยืมหุ้นเค้ามาขายก็ต้องซื้อคืนผู้ที่เค้ายืมมา เมื่อแรงขายมันหมดไปคนเหล่านี้ก็จะไล่ซื้อกลับมาในราคา ณ เวลานั้น ส่วนราคาจะลงไปถึงไหนเมื่อไหร่จะขึ้นก็ขึ้นอยู่กับเม่าจะขายหมดเมื่อไหร่

ข้อมูลการขาย short
http://www.set.or.th/set/shortsales.do

ตัวอย่าง สมมติ คุณมี BGH ตอนราคา 170 บาท ตอนนี้ 160บาทจะกลับไปที่เก่าไหม ไม่รู้ เมื่อไหร่ ไม่รู้ เมื่อวันศุกร์-5
มันเด้งขึ้นเด้งลงแบบนี้แหละ และจะถอยลงๆๆจน ถึงราคาที่เจ้ามือ+ปอบพอใจอาจเป็น 100 บาทในอีก 3เดือนข้างหน้า ตอนนั้นหากมันบวกลบวันหนึ่ง 1-3 บาทอยู่นานให้รีบถัวแล้วขาย

พวกทำแบบนี้กันทำไมคุณทราบแล้ว. แต่ ปอบมันกวนตีนมันจะหาข้ออ้างต่างๆนานา

ในอนาคตพวกมันจะยอมให้หุ้นขึ้นอีกไหม มันจะยอมเพราะจะทำให้ดูแล้วหุ้นนั้นๆมี growth แต่ในแต่ละปีจะเป็นโยโย่เชือกสั้นไปเรื่อยๆ ไม่เปบี่ยนแปลงมาก นอกจากมีปัจจัย +- อื่นๆ

หุ้นบมจ ใน SET หลายตัวไม่อนุญาตให้โดน Short Sale  ก็คือพวกที่ไม่อยู่ในลิสต์ด้านบน



INSURANCETHAI.NET
Line+