โมฆะ โมฆียะ
992
โมฆะ โมฆียะ
โมฆะกรรม
หมายถึง นิติกรรมที่เมื่อทำขึ้นแล้ว ไม่มีผลผูกพันกันในทางกฎหมาย สูญเปล่า เสียเปล่าไป
ผลของโมฆะกรรม มีดังต่อไปนี้
1.โมฆะกรรมนั้นไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้
2.ผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างก็ได้
3.ถ้าจะต้องคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรม ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้ แห่งประมวลกฎหมายนี้มาใช้บังคับ
4.ถ้าส่วนหนึ่งส่วนใดของนิติกรรมเป็นโมฆะ นิติกรรมนั้นย่อมตกเป็นโมฆะทั้งสิ้น
5.นิติกรรมใดเป็นโมฆะ แต่เข้าลักษณะเป็นนิติกรรมอย่างอื่นซึ่งไม่เป็นโมฆะ ให้ถือความตามนิติกรรมซึ่งไม่เป็นโมฆะ
โมฆียะกรรม
หมายถึง นิติกรรมนั้นยังมีผลบังคับได้โดยชอบด้วยกฎหมาย แต่อาจถูกบอกล้าง ทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก หรืออาจได้รับการให้สัตยาบัน นิติกรรมนั้นจะมีผลสมบูรณ์ตั้งแต่เริ่มแรกเช่นกัน
ผลของโมฆียะกรรม มี2ประการ ดังนี้
1.การบอกล้างโมฆียะกรรม การบอกล้างคือ การแสดงเจตนาปฏิเสธนิติกรรมที่เป็นโมฆียะให้ไม่มีผลใช้บังคับตามกฎหมาย
2.การให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรม คือเป็นการรับรองนิติกรรมที่เป็นโมฆียะให้มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย
Re: โมฆะ โมฆียะ
992
Re: โมฆะ โมฆียะ
โมฆะ กับ โมฆียะ เป็นคำกฎหมายที่คนส่วนใหญ่เคยได้ยิน แต่อาจยังสงสัยถึงความหมายและความแตกต่างของคำดังกล่าว ผู้เขียนขออธิบายง่าย ๆ ดังนี้ครับ
โมฆะ แปลว่า เสียเปล่า ไม่มีผลบังคับหรือผูกพันตามกฎหมาย เช่น สัญญาเป็นโมฆะ และเมื่อกล่าวถึงคำ โมฆะ แล้ว ขออธิบายคำว่า โมฆกรรม ที่แปลว่า นิติกรรมที่เสียเปล่า ไม่มีผลบังคับหรือผูกพันตามกฎหมาย ไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้ และผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่ง จะยกความเสียเปล่าขึ้นกล่าวอ้างก็ได้ เช่น การที่บุคคลหนึ่งทำสัญญาซื้อขายยาบ้ากับบุคคลอื่น ซึ่งเป็นสัญญาที่ขัดต่อกฎหมายและความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญานั้นตกเป็นโมฆะ
โมฆียะ แปลว่า ที่อาจเป็นโมฆะได้เมื่อมีการบอกล้าง หรือมีผลสมบูรณ์เมื่อมีการให้สัตยาบัน และเมื่อกล่าวถึง คำโมฆียะแล้ว ขออธิบายคำว่า โมฆียกรรม ที่แปลว่า นิติกรรมซึ่งอาจบอกล้าง เพิกถอน หรือให้สัตยาบันได้ ถ้าบอกล้างก็เป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก ถ้าให้สัตยาบันก็มีผลสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก อธิบายเข้าใจง่าย ๆ คือ นิติกรรมที่เป็นโมฆียะนั้น เป็นนิติกรรมที่กระทำโดยผู้มีสิทธิ์ แต่สิทธิ์นั้นยังไม่สมบูรณ์ อาจเป็นเพราะด้วยสาเหตุต่าง ๆ เช่น ด้วยความอ่อนอายุ ด้วยความไร้ความสามารถตามคำสั่งศาล แต่อาจจะสมบูรณ์ได้โดยการให้สัตยาบัน ซึ่งก็คือการรับรองโดยผู้มีอำนาจ เช่น การที่เด็กหรือผู้เยาว์ทำนิติกรรมซื้อขายทรัพย์สินเกินฐานานุรูปของตนเอง เป็นต้นว่า ไปทำสัญญาซื้อขายบ้าน หรือรถยนต์กับบุคคลภายนอก โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองของผู้เยาว์ก่อน สัญญาซื้อขายนั้นก็เป็นโมฆียกรรม ทั้งนี้ ถ้าผู้ปกครองให้สัตยาบันก็ถือว่านิติกรรมนั้นมีผลสมบูรณ์มาตั้งแต่เริ่มแรก แต่ถ้าผู้ปกครองบอกล้างหรือไม่ให้สัตยาบัน นิติกรรมนั้นก็จะเป็นโมฆะมาตั้งแต่ต้น ครับ
ความแตกต่างระหว่างโมฆะกรรมและโมฆียะกรรม
๑ โมฆะกรรมตุ้มครองส่วนได้เสียของประชาชน ส่วนโมฆียะกรรมคุ้มครองส่วนได้เสียของคู่กรณี
๒ โมฆะกรรมเป็นนิติกรรมที่เสียเปล่าใช้ไม่ได้มาแต่ต้น เสมือนมิได้ทำนิติกรรมนั้นขึ้นเลย ส่วนนิติกรรมที่เป็นโมฆียะใช้บังคับได้จนกว่าจะถูกบอกล้าง
๓ โมฆะกรรมไม่ต้องบอกล้าง เพราะเป็นโมฆะอยู่ในตัวแล้ว ส่วนโมฆียะกรรมต้องบอกล้างจึงจะตกเป็นโมฆะ ถ้ายังไม่บอกล้างยังไม่เป็นโมฆะ
๔ โมฆะกรรมนั้นผู้มีส่วนได้เสียทุกคนยกขึ้นกล่าวอ้างได้ ส่วนโมฆียะกรรมกฎหมายกำหนดบุคคลผู้มีสิทธิบอกล้างตามที่ระบุไว้ใน มาตรา ๑๗๕
๕ โมฆะกรรมให้สัตยาบันไม่ได้ ส่วนโมฆียะกรรมให้สัตยาบันได้
๖ โมฆะกรรมไม่มีกำหนดเวลายกขึ้นกล่าวอ้าง ส่วนโมฆียะกรรมมีกำหนดเวลาบอกล้าง ตามมาตรา ๑๘๑
๗ โมฆะกรรมเรียกคืนทรัพย์สินฐานลาภมิควรได้ ส่วนโมฆียะกรรมคู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามมาตรา ๑๗๖
Re: โมฆะ โมฆียะ
992
Re: โมฆะ โมฆียะ
ตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ คำว่า โมฆะ ระบุในตัวบท มาตรา 172.
มาตรา 172 โมฆะกรรมนั้นไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้และผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมนี้ขึ้นกล่าวอ้างก็ได้ วรรคสอง.ถ้าจะต้องคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรมให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้แห่งประมวลกฎหมายนี้มาใช้บังคับ.
ส่วนโมฆียะ ระบุในตัวบท มาตรา 175
มาตรา 175 โมฆียะกรรมนั้นบุคคลต่อไปนี้จะบอกล้างเสียก็ได้
( 1 )ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้เยาว์ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว แต่ผู้เยาว์จะบอกล้างก่อนที่ตนบรรลุนิติภาวะก็ได้ถ้าได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม
( 2 )บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามรถหรือคนเสมือนไร้ความสามรถเมื่อบุคคลนั้นพ้นจากการเป็นบุคคลไร้ความสามรถหรือคนเสมือนไร้ความสามรถแล้วผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์แล้วแต่กรณี แต่คนเสมือนไร้ความสามรถจะบอกล้างก่อนที่ตนจะพ้นการเป็นคนเสมือนไร้ความสามรถก็ได้ ถ้าได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์
( 3 )บุคคลผู้แสดงเจตนาเพราะสำคัญผิดหรือถูกกลฉ้อฉลหรือถูกข่มขู่
( 4 )บุคคลวิกลจริตผู้กระทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะ ตามมาตรา 30 ในขณะที่จริตของบุคคลนั้นไม่วิกลแล้ว ถ้าบุคคลผู้ทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะถึงแก่ความตายก่อนมีการบอกล้างโมฆียกรรม ทายาทของบุคคลดังกล่าวอาจบอกล้างโมฆียะกรรมนั้นได้
โมฆะ หรือโมฆียะ เป็นผลทางนิติกรรมที่บุคคลกระทำขึ้น ตามมาตรา 149 แห่งกฎหมายนี้ครับเมื่อบุคคลไปทำนิติกรรมแล้ว จะมีผล เป็น โมฆะ หรือ โมฆียะ ให้ดูตัวบทและภาพประกอบโมฆะ อธิบายแบบบ้านๆก็คือเป็น 0 ศูนย์มาแต่ต้น และไม่สามารถให้สัตยาบันหรือรับรองรองได้โมฆียะ มีผลเป็นนิติกรรมแล้ว แต่ยังไม่สมบูรณ์ ร้อยเปอร์เซ็น ผมถึงเขียน เลข 50 เพื่อให้เข้าใจ สมบูรณ์ ก็คือ เมื่อโมฆียะกรรมนั้น ได้รับการรับรอง จากคน 3 คน แล้ว โมฆียะกรรรม จากที่เป็นนิติกรรม 50 ก็จะเป็น 100ทันทีกฎหมายแบ่งคนไว้ 3 กลุ่มที่จะสร้าง โมฆะ หรือ โมฆียะ
1. ผู้เยาว์ ผู้เยาว์คือผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เมือ่ไปสร้างนิติกรรมขึ้น เช่น
เล่นบอลได้ มีเงิน ไปซื้อมอเตอร์ไซค์ มา ผลจากการซื้อนั้น ยังไม่เป็นนิติกรรมสมบูรณ์ครับ คือเป็นแค่ โมฆียะ 50 % มันรออะไร รอ ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้แทนโดยชอบธรรม อาจเป็น พ่อแม่ ในกรณีเด็กมีพ่อแม่ ปู่ย่าตายายลุงป้าน้าอา อื่นๆ กรณีเด็กไม่มีพ่อแม่ ถือเป็นผู้ปกครองโดยชอบธรรม กฎหมายรอให้คนเหล่านี้รับรู้ เมื่อเด็กซื้อรถมา ถ้าผู้แทนเห็นชอบด้วยก็ไปยืนยันหรือลงสัตยาบันกับร้านที่ขายรถนั้น เสีย นิติกรรมที่เป็นโมฆียะนั้นก็จะเป็นผลสมบูรณ์ทันที ถ้าผู้แทนโดยชอบธรรมเห็นว่าไม่เหมาะสม ก็ไปยกเลิก หรือกฎหมายใช้คำว่าบอกล้าง จากที่เป็น โมฆียะ 50 % ก็จะกลายเป็น 0 ศูนย์ หรือ โมฆะ ทันทีเช่นกัน
2 บุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ( ต้องศาลสั่งครับ ) คือ
คนกลุ่มนี้สติไม่ดีฟั่นเฟือนครองสติไม่ได้ ญาติไปร้องให้ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ คนกลุ่มนี้ ศาลให้มี ผู้อนุบาลเพื่อคอยดูแลด้านนิติกรรมทั้งหมด คนไร้ความสามารถที่ศาลสั่ง เซ็นต์อะไรลงไปก็เป็นโมฆะ
3.ผู้เสมือนไร้ความสามารถ คนกลุ่มนี้มีสติเหมือนคนปกติ แต่ร่างกายเขาไม่สมบูรณ์ เช่นคนตาบอด หูหนวก เรียกคนกลุ่มนี้ว่าเสมือนไร้ความสามารถ เพราะเขาไม่ได้ยิน อ่านหนังสือหรือมองไม่เห็น ศาลจึงให้มีผู้ดูแลคนกลุ่มนี้เรียกว่า ผู้พิทักษ์คน 3 กลุ่มนี้เท่านั้นที่จะสร้างนิติกรรม ตามมาตรา 149 ให้มีผลเป็น โมฆะ หรือโมฆียะ และ 3 กลุ่มนี้ก็จะมีผู้ดูแลอยู่ สามกลุ่มเรียกชื่อต่างกันตามที่กล่าวมาแล้ว
INSURANCETHAI.NET