ShineStock สรุปความรู้การลงทุนงาน Meeting @ ร้าน ตำ ณ ดาว วันที่ 23/3/2559
994
ShineStock สรุปความรู้การลงทุนงาน Meeting @ ร้าน ตำ ณ ดาว วันที่ 23/3/2559
1) เรื่อง Bond Yield - ตอนนี้ Bond Yield 10 ปี ของไทยเทียบกับอเมริกา พบกว่าของไทยต่ำกว่า ซึ่งถือเป็นเรื่องแปลก ทั้งๆที่ดอกเบี้ยนโยบายของไทยอยู่ที่ 1.5% ขณะที่สหรัฐอยู่ที่ 0.5% (แสดงว่าอาจเกิดจากการเข้ามาซื้อพันธบัตรจากนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งปกติแล้วยิ่งคนมาซื้อมากๆ Yield ยิ่งลดลง) - ในตลาด Bond ทั่วโลกพบกว่าเกินกว่า 50% เป็นเม็ดเงินที่อยู่ใน Bond ที่ให้ผลตอบแทน 0-2% เท่านั้นถือว่าต่ำมากแต่ทำไมคนถึงซื้อ? ส่วนตัวมองว่าคนที่เข้าไปซื้อ Bond yield ต่ำ เพราะหวังกินกำไรทางอ้อม เช่น กำไรจากค่าเงินของประเทศนั้นๆ เป็นต้น - ผู้ซื้อ Bond จะแบ่งเป็นสถาบัน(ประกัน/กองทุนกบข./ประกันสังคม) ซึ่งซื้อตามปกติ และผู้ซื้ออีกประเภทจะเป็นนักลงทุนทั่วไป ซึ่งหากนักลงทุนคนไหนจะซื้อ Bond ก็ต้องมองตลาดหุ้นในแง่ที่ไม่ดีจึงย้ายเงินมาเก็บไว้ที่ bond - หากไปดูกราฟย้อนหลัง 20 ปี จะพบว่า Bond Yield 10 ปี ของอเมริกาจะสอดคล้องไปในทางเดียวกับการเติบโตของ GDP - โดยปกติ Bond Yield = Growth + Inflation เช่น หาก Bond Yield สูงแสดงว่าประเทศนั้นๆอาจมี Growth หรือมีเงินเฟ้อในระดับสูง เป็นต้น 2) การมองภาพศก.กับเงินเฟ้อแบ่ง Scanerio 4 แบบ 2.1 Low Growth และ Low Inflation(สภาวะของศก.โลกตอนนี้) - ดีกับตลาดหุ้น - ไม่ดีต่อราคา Commo. - ไม่ดีกับตลาด Bond (ซึ่งส่วนตัวไม่แนะนำให้ถือ Bond ตอนนี้) 2.2 High Growth และ Low Inflation - เป็นกรณีที่ดีที่สุดต่อตลาดหุ้น - ไม่ดีต่อราคา Commo. - เป็นกลางๆต่อตลาด Bond 2.3 High Growth และ High Inflation - ดีต่อตลาดหุ้น - ดีต่อราคา Commo. - ดีต่อตลาด Bond 2.4 Low Growth และ High Inflation - ไม่ดีต่อตลาดหุ้น - ดีต่อราคา Commo. - ดีต่อตลาด Bond ในภาวะนี้อาจทำให้เกิดวิกฤตได้ เรียกทางเทคนิคว่า Stagflation 3) เรื่องหนี้แต่ละประเทศ - เมื่อดอกเบี้ยถูก ประเทศหลายๆประเทศมีหนี้สาธารณะเกิน GDP มากกว่า 100% เช่น ญี่ปุ่น กรีซ อิตาลี อมเริกา หากเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในภาคธุรกิจจริงก็ไม่น่ามีปัญหา แต่ถ้าเอาไปทำอย่างอื่นที่ไม่มีประโยชน์จะเป็นอย่างไร - ประเทศไทย ที่น่าห่วงคือ สัดส่วนหนี้ครัวเรือน เทียบกับรายได้ต่อหัวพบว่าสูงถึง 137% ในปี 2014 คือทำงานได้เงินมาเท่าไหร่ จ่ายหนี้หมดก็ยังไม่พอกิน (จากสมัยก่อนที่ 70%/รายได้ประชากร) ขณะที่อเมริกาหนี้ครัวเรือนปรับลดลง 4) เหตุที่ทำให้ QE ไม่ได้ทำให้เกิด Inflation ในอเมริกามากนัก - FED ใช้เงินเข้าไปซื้อพันธบัตรของธนาคาร หรือสถาบันการเงิน - สถาบันการเงินได้สภาพคล่องเพิ่ม แต่ไม่ได้ปล่อยกู้ออกมาสู่ระบบ อาจเพราะ 1 โครงการไม่น่าสนใจ 2 คนไม่มีใครมาขอกู้ยืมเงิน - หากไปดูฐานเงิน (M2) พบว่าไม่ได้ขยายตัวแบบก้าวกระโดด สอดคล้องกับ อัตราการการหมุนเงินในระบบที่ลดลงมาตลอดหลายปี 5) ความเสี่ยง - ทุกประเทศ ใช้มาตรการแทบจะหมดหน้าตักแล้ว ทั้ง USA ทั้งยุโรป ทั้งญี่ปุ่น หากเกิดวิกฤตขึ้นมา แทบจะไม่มีเครื่องมืออะไรมาคอยช่วยได้อีกแบบที่ผ่านมา - การที่ดอกเบี้ยต่ำทั่วโลก และการมีสภาพคล่องจาก QE มากๆ รวมถึงนโยบายต่างๆของกองทุนต่างประเทศ ที่เปลี่ยนจากลงทุนในพันธบัตรที่ให้ผลตอบแทนต่ำ ไปลงทุนในหุ้นมากขึ้น เช่น กองทุนกบข./ประกันสังคมของญี่ปุ่น เป็นต้น ทำให้เกิดฟองสบู่ในสินทรัพย์เสี่ยงเช่น หุ้น หรืออสังหา - หาก US เกิด Inflation จาก Shock Commodity เช่น ราคาน้ำมัน เหล็กขึ้นมาอย่างแรงอีกครั้ง จะทำให้ FED ต้องขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งส่งผลต่อต้นทุนทางการเงิน และทำให้กำไรของบริษัทต่างๆปรับตัวลดลง (ภาวะ Stagflation) 6) กราฟของ S&P500 หากเทียบกับอดีตจาก Peak ถึง Peak ใช้เวลา 91 เดือนก่อนตลาดหุ้นจะลงหนักยาว(จุดพีคแรกปี 2000 จุดพีคต่อมาปี 2007) ซึ่งตอนนี้ S&P500 ที่ขึ้นไปแตะ Peak ล่าสุดก็ครบ 91 เดือนแล้วเช่นกัน ส่วนตัวจึงมองว่าตลาดหุ้นอเมริกาน่าจะเลยจุดสูงสุดรอบนี้ไปแล้ว 7) ยุโรปอาจเจอ Lost Decade แบบญี่ปุ่น เพราะหากดูกราฟราคาที่ดินลดลง+Inflation+GDP growth เทียบกันแล้วเป็นแบบเดียวกับญี่ปุ่นเมื่อหลายสิบปีก่อนเข้าสู่ภาวะชะลอตัวยาวนานเป็น 10 ปี 8) เรื่องราคาน้ำมัน มองว่า Supply น่าจะทยอยลดลงไป และราคาน้ำมันจะ sideway ไประหว่าง 30-50 $ ไม่ได้กลับ rally แบบสมัยก่อน 9) ทองคำ เป็นสินค้าที่คาดเดายากอีกชนิดนึง แต่ถ้าดูจากอดีต คือ เมื่อใดก็ตามที่ดอลล่าแข็ง ราคาทองจะลง และเมื่อไหร่ที่ดอลล่าอ่อน ทองคำจะขึ้น ยกเว้นบางกรณีที่เกิดสงครามหรือตลาดหุ้นถล่มทั่วโลก คนอาจจะโยกเงินออกมาซื้อทองคำเก็บไว้ 10) เรื่องหุ้นจีน โดยพี่อัพ มองว่าหลายตัวน่าสนใจ แต่ให้ระวังเรื่องการตกแต่งบัญชี หากใครสนใจลงทุนควรมีหลักคร่าวๆดังนี้ - เลือกหุ้นที่เรารู้จักสินค้า หรือมีชื่อเสียงในระดับสากล เพราะน่าจะปลอดภัยกว่าไปเลือกบริษัทที่ขายในท้องถิ่น ซึ่งเราจะติดตามยากว่าการลงบัญชี หรือ Inventory เป็นของจริงไหม - ไม่ควรให้น้ำหนักกับ PE ratio เพราะจากประสบการณ์ตรง ต่อให้ PE 4 เท่าแต่บริษัทมีการแต่งบัญชี จนสุดท้าย PE เหลือ 1 เท่า หรือขาดทุนไปเกือบ -80% (ถูกแล้ว ยังมีถูกยิ่งกว่า) - บางบริษัท เช่น สนามบิน ก็น่าสนใจเพราะจำนวนผู้โดยสารมากกว่าสุวรรณภูมิ แต่ Mkt.cap กลับน้อยกว่า AOT หรือกลุ่มโรงพยาบาลในจีนก็เทรดกันที่ PE 15-20 เท่า ถูกกว่าไทยที่เทรดกันในระดับ 40-50 เท่า สำหรับวันนี้ถือเป็นอีก section ที่แปลกใหม่เพราะได้เห็นภาพใหญ่ของเศษฐศาสตร์ระดับมหภาคในอีกมุมนึงต้องขอขอบพระคุณ ดร.ภูมิที่มาให้ความรู้กับพวกเราในวันนี้อีกครั้ง ShineStock สรุปความรู้การลงทุนงาน Meeting @ ร้าน ตำ ณ ดาว วันที่ 23/3/2559
INSURANCETHAI.NET